กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยเรียน วัยรุ่น วัยใส ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5211-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบางกล่ำ
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 12,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยุฑามาส วันดาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นและเยาวชนเป็นประเด็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญองค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตัวชี้วัดที่ 3.7 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งจากข้อมูลอัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปีต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปี พันคน ลดลงจาก 1.4 ต่อพันคน ในปี พ.ศ. 2559 เป็น 0.85 ต่อพันคน (HDC Q 1 ณ 16 มี.ค.66) ในปี พ.ศ. 2566 โดยสถานการณ์การคลอดมีชีพ ของประเทศไทยตั้งแต่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 ตาม พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 จนปัจจุบัน
จากการเก็บข้อมูลของกรมอนามัยพบปัญหาว่า 1. วัยรุ่นขาดความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต
2. วัยรุ่นไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่สอดคล้องกับปัญหาความต้องการได้ อย่างแท้จริง รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในด้านทัศนคติของผู้ให้บริการวัยรุ่น
3. ความพร้อมในการให้บริการของสถานบริการยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะบริการที่เกี่ยวกับการยุติ การตั้งครรภ์ภายใต้กฎหมาย ทั้งนี้แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ 2566-2568) ภายใต้ แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2570 ตาม พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ซึ่งได้ยึดวิสัยทัศน์ของแผน คือ “วัยรุ่นมีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษา มีทักษะชีวิตที่ดีสามารถเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตร เป็นส่วนตัว รักษาความลับ และได้รับสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาค” มุ่งสู่เป้าหมายสำคัญ ได้แก่ 1) อัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปีจากเดิม ไม่เกิน 25 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน เป็น ไม่เกิน 15 ต่อ 1,000 คน ภายในปี 2570 2) คงค่าเป้าหมาย อัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปี ไว้ที่ไม่เกิน 0.5 ต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปี 1,000 คน ภายในปี 2570 จากข้อมูลข้างต้นผู้จัดทำโครงการได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เด็กและเยาวชนตำบลบ้านหารได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เช่น ปัญหาการดูแลสุขภาพอนามัยที่เหมาะสม ปัญหาด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ปัญหาการคบเพื่อน การเตรียมความพร้อมเพื่อการพัฒนาทักษะในการดูแลตนเอง จะช่วยสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกให้แก่วัยรุ่น เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีผลต่อสุขภาพได้ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวให้ผ่านภาวะวิกฤต และก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชน ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ในวัยเรียน

 

2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

 

3 เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายแกนนำเด็กและเยาวชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายวัยรุ่นและเยาวชนอำเภอบางกล่ำ
  2. ประสานพื้นที่เป้าหมายในการจัดกิจกรรม
  3. ประสานวิทยากรในการอบรม
  4. จัดกิจกรรมอบรมโครงการ
  5. สรุปผลการดำเนินงานรายงานต่อผู้บริหาร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. วัยรุ่นมีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
  2. เสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต และพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องเพศ
  3. วัยรุ่นมีความเข้าใจเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ เพศศึกษามากขึ้น
  4. วัยรุ่นสามารถให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาเรื่องเพศ และสามารถช่วยเหลือเพื่อนในโรงเรียน ในเรื่องปัญหาทางเพศ และสุขภาพได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 15:59 น.