โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัยในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัยในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1529-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว |
วันที่อนุมัติ | 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 28 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 55,290.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุชาดา ขวัญสิริดำรง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่างิ้ว |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 55,290.00 | |||
รวมงบประมาณ | 55,290.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 107 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 524 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 77 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 914 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพดี ช่วยเสริมคุณภาพชีวิต เพราะปัญหาสุขภาพช่องปาก จะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ดังนั้นจำเป็นที่ต้องดูแลสุขภาพในช่องปากประชาชนให้ปราศจากโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปาก มิใช่การกำจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้ ปัญหาทันตสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดตรัง คือ โรคฟันผุ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกกลุ่มอายุของประชาชนชาวจังหวัดตรัง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัยและในกลุ่มเด็กวัยเรียน จากผลการสำรวจสถานการณ์ทันตสุขภาพในเด็กกลุ่มอายุ ๓ ปีและ ๑๒ ปี ของจังหวัดตรัง ปี ๒๕๖7 พบว่าเด็กอายุ ๓ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ ๖๙.๑๘ และในเด็กอายุ ๑๒ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ ๖๔.๕๐ สำหรับในกลุ่มผู้สูงอายุ มีฟัน ๔ คู่สบ ร้อยละ ๖๑.๕๗ ผลจากการสำรวจสถานการณ์ทันตสุขภาพในเด็กกลุ่มอายุ ๓ ปีและ ๑๒ ปี ของตำบลท่างิ้ว ปี ๒๕๖7 พบว่าเด็กอายุ ๓ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ ๕๓.๓๓ และในเด็กอายุ ๑๒ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ ๕๓.๓๒ ปี สำหรับในกลุ่มผู้สูงอายุ มีฟัน ๔ คู่สบ ร้อยละ ๖๘.๓๓ การแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขจึงต้องกำหนดพัฒนางานทันตสาธารณสุขโดยให้กิจกรรมที่ดำเนินการสอดคล้องกับสาเหตุ ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายด้วยการผสมผสานทั้งการสร้างเสริมป้องกันทันตสุขภาพและรักษาทางทันตกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มวัยอันจะนำไปสู่การมี ทันตสุขภาพช่องปากที่ดีของประชากรในเขตเทศบาลห้วยยอดในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัยในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ปี 2568 เพื่อเป็นการกระตุ้นการดูแลสุขภาพช่องปากประชาชน รวมทั้งป้องกันการเกิดฟันผุลุกลามต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อ ส่งเสริม ป้องกันสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มวัย ในตำบลท่างิ้วให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 1.ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ใน รพ.สต.ท่างิ้วได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา 2. ร้อยละ 70 ของเด็ก 0 – 2 ปี 11 เดือน 29 วัน ในคลินิก WBC ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง 3.ร้อยละ 80 ของเด็ก 3 – 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ใน ศพด. และโรงเรียนอนุบาลได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง 4.ร้อยละ 80 ของเด็ก 6 -12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง 5.ร้อยละ 100 ของ อสม.ในตำบลท่างิ้ว ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง 6.ร้อยละ 40 ของผู้สูงอายุในตำบลท่างิ้ว ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา 7.ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการ ตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา |
0.00 | |
2 | 2.เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้เข้าถึงบริการ ทันตกรรม 1.ร้อยละ 50 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ใน รพ.สต.ท่างิ้วได้รับบริการทันตกรรม 2. ร้อยละ 70 ของเด็ก 0 – 2 ปี 11 เดือน 29 วัน ในคลินิก WBC ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช 3.ร้อยละ 80 ของเด็ก 3 – 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ใน ศพด. และโรงเรียนอนุบาล ได้รับการทฟลูออไรด์วานิช 4.ร้อยละ 20 ของเด็ก 6 -12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษาได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน 5.ร้อยละ 50 ของ อสม.ในตำบลท่างิ้ว ได้รับบริการทันตกรรม 6.ร้อยละ 20 ของผู้สูงอายุในตำบลท่างิ้ว ได้รับบริการทันตกรรม 7.ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการ เยี่ยมบ้าน |
0.00 | |
3 | 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยเก๋าให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองและผู้สูงอายุด้วยกันเองได้
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
14 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษา และทาฟลูออไรด์ เด็ก 3-5 ปี 11 เดือน 29 วัน ใน ศพด. และโรงเรียนอนุบาล | 0 | 7,690.00 | - | ||
14 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 0 – 2 ปี 11 เดือน 29 วัน ในคลินิก WBCและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง | 0 | 5,280.00 | - | ||
14 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 3 ตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาหญิงตั้งครรภ์ | 0 | 3,860.00 | - | ||
14 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 4 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 6 -12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา -ให้ทันตสุขศึกษา -ทาฟลูออไรด์และ เคลือบหลุมร่องฟัน | 0 | 14,350.00 | - | ||
14 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 6 ตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาและนัดรับบริการทันตกรรมผู้สูงอายุในตำบลท่างิ้ว | 0 | 3,500.00 | - | ||
14 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง | 0 | 3,940.00 | - | ||
27 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 5 ตรวจฟันและให้ ทันตสุขศึกษา อสม. และนัดรับบริการ | 0 | 4,270.00 | - | ||
28 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 8 อบรมแกนนำ วัยเก๋า | 0 | 12,400.00 | - | ||
รวม | 0 | 55,290.00 | 0 | 0.00 |
- หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตร
- เด็กปฐมวัยที่มีฟันผุระยะเริ่มแรกลดลงหลังได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชและผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรมากขึ้น
- เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นและปราศจากโรคฟันผุเพิ่มมากขึ้น
- กลุ่มวัยทำงานได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับบริการทันตกรรมเพิ่มมากขึ้น
- ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและเข้าถึงบริการมากขึ้น
- เกิดการพัฒนาและมีการจัดบริการส่งเสริม ป้องกันในระบบบริการปฐมภูมิ ในภาคีเครือข่ายเด็กปฐมวัยและวัยเรียนโรคฟันผุลดลง ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 7.มีแกนนำวัยเก๋าที่มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีอย่างยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2568 21:02 น.