กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัยในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว

หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.

ตำบลท่างิ้ว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพดี ช่วยเสริมคุณภาพชีวิต เพราะปัญหาสุขภาพช่องปาก จะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ดังนั้นจำเป็นที่ต้องดูแลสุขภาพในช่องปากประชาชนให้ปราศจากโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปาก มิใช่การกำจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้ ปัญหาทันตสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดตรัง คือ โรคฟันผุ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกกลุ่มอายุของประชาชนชาวจังหวัดตรัง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัยและในกลุ่มเด็กวัยเรียน จากผลการสำรวจสถานการณ์ทันตสุขภาพในเด็กกลุ่มอายุ ๓ ปีและ ๑๒ ปี ของจังหวัดตรัง ปี ๒๕๖7 พบว่าเด็กอายุ ๓ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ ๖๙.๑๘ และในเด็กอายุ ๑๒ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ ๖๔.๕๐ สำหรับในกลุ่มผู้สูงอายุ มีฟัน ๔ คู่สบ ร้อยละ ๖๑.๕๗
ผลจากการสำรวจสถานการณ์ทันตสุขภาพในเด็กกลุ่มอายุ ๓ ปีและ ๑๒ ปี ของตำบลท่างิ้ว ปี ๒๕๖7 พบว่าเด็กอายุ ๓ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ ๕๓.๓๓ และในเด็กอายุ ๑๒ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ ๕๓.๓๒ ปี สำหรับในกลุ่มผู้สูงอายุ มีฟัน ๔ คู่สบ ร้อยละ ๖๘.๓๓ การแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขจึงต้องกำหนดพัฒนางานทันตสาธารณสุขโดยให้กิจกรรมที่ดำเนินการสอดคล้องกับสาเหตุ ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายด้วยการผสมผสานทั้งการสร้างเสริมป้องกันทันตสุขภาพและรักษาทางทันตกรรม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มวัยอันจะนำไปสู่การมี ทันตสุขภาพช่องปากที่ดีของประชากรในเขตเทศบาลห้วยยอดในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัยในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ปี 2568 เพื่อเป็นการกระตุ้นการดูแลสุขภาพช่องปากประชาชน รวมทั้งป้องกันการเกิดฟันผุลุกลามต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อ ส่งเสริม ป้องกันสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มวัย ในตำบลท่างิ้วให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

1.ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ใน รพ.สต.ท่างิ้วได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา 2. ร้อยละ 70 ของเด็ก 0 – 2 ปี 11 เดือน 29 วัน ในคลินิก WBC ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง 3.ร้อยละ 80 ของเด็ก 3 – 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ใน ศพด. และโรงเรียนอนุบาลได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง 4.ร้อยละ 80 ของเด็ก 6 -12 ปี  ในโรงเรียนประถมศึกษาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง 5.ร้อยละ 100 ของ อสม.ในตำบลท่างิ้ว ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง 6.ร้อยละ 40 ของผู้สูงอายุในตำบลท่างิ้ว ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา 7.ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการ ตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้เข้าถึงบริการ ทันตกรรม

1.ร้อยละ 50 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ใน รพ.สต.ท่างิ้วได้รับบริการทันตกรรม 2. ร้อยละ 70 ของเด็ก 0 – 2 ปี 11 เดือน 29 วัน ในคลินิก WBC ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช 3.ร้อยละ 80 ของเด็ก 3 – 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ใน ศพด. และโรงเรียนอนุบาล ได้รับการทฟลูออไรด์วานิช 4.ร้อยละ 20 ของเด็ก 6 -12 ปี  ในโรงเรียนประถมศึกษาได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน 5.ร้อยละ 50 ของ อสม.ในตำบลท่างิ้ว ได้รับบริการทันตกรรม 6.ร้อยละ 20 ของผู้สูงอายุในตำบลท่างิ้ว ได้รับบริการทันตกรรม 7.ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการ เยี่ยมบ้าน

0.00
3 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยเก๋าให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองและผู้สูงอายุด้วยกันเองได้
  1. ร้อยละ 100 ของแกนนำผู้สูงอายุวัยเก๋ามีความรู้และศักยภาพในการดูแลทันตสุขภาพของตนเองและผู้สูงอายุด้วยกันได้
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 107
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 524
กลุ่มวัยทำงาน 77
กลุ่มผู้สูงอายุ 914
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 14/02/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษา และทาฟลูออไรด์ เด็ก 3-5 ปี 11 เดือน 29 วัน ใน ศพด. และโรงเรียนอนุบาล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษา และทาฟลูออไรด์ เด็ก 3-5 ปี 11 เดือน 29 วัน ใน ศพด. และโรงเรียนอนุบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าฟลูออไรด์วานิชจำนวน 1 ชุดๆละ 1,410 บาท เป็นเงิน 1,410 บาท -ค่าวัสดุสาธิตการแปรงฟัน จำนวน 139 ชุดๆละ 20 บาทเป็นเงิน 2,780 บาท -ค่าสื่อให้ทันตสุขศึกษา จำนวน 1 ชุดๆละ 3,500 บาทเป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70 ของเด็ก 0 – 2 ปี 11 เดือน 29 วัน ในคลินิก WBC ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7690.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 0 – 2 ปี 11 เดือน 29 วัน ในคลินิก WBCและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 0 – 2 ปี 11 เดือน 29 วัน ในคลินิก WBCและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุสาธิตการแปรงฟัน จำนวน 89 ชุดๆละ 20 บาท   เป็นเงิน 1,780 บาท
-ค่าสื่อให้ทันตสุขศึกษา จำนวน 1 ชุดๆละ 3,500 บาท   เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70 ของเด็ก 0 – 2 ปี 11 เดือน 29 วัน ในคลินิก WBC ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5280.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุสาธิตการแปรงฟัน จำนวน 18 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน   360 บาท -ค่าสื่อให้ทันตสุขศึกษา จำนวน  1 ชุดๆละ 3,500 บาท   เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ใน รพ.สต. ท่างิ้ว ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3860.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 6 -12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา -ให้ทันตสุขศึกษา -ทาฟลูออไรด์และ เคลือบหลุมร่องฟัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 6 -12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา -ให้ทันตสุขศึกษา -ทาฟลูออไรด์และ เคลือบหลุมร่องฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุสาธิตการแปรงฟัน จำนวน 385 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 3,850 บาท
-ค่าสื่อให้ทันตสุขศึกษา จำนวน3 ชุดๆละ 3,500 บาทเป็นเงิน 10,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของเด็ก 6 -12 ปี  ในโรงเรียนประถมศึกษาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14350.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5 ตรวจฟันและให้ ทันตสุขศึกษา อสม. และนัดรับบริการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 ตรวจฟันและให้ ทันตสุขศึกษา อสม. และนัดรับบริการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุสาธิตการแปรงฟัน จำนวน 77 ชุดๆละ 10 บาทเป็นเงิน 770 บาท
-ค่าสื่อให้ทันตสุขศึกษา จำนวน 1 ชุดๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของอสม.ในตำบลท่างิ้ว ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4270.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมที่ 6 ตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาและนัดรับบริการทันตกรรมผู้สูงอายุในตำบลท่างิ้ว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 6 ตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาและนัดรับบริการทันตกรรมผู้สูงอายุในตำบลท่างิ้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าสื่อให้ทันตสุขศึกษา จำนวน 1 ชุดๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 40 ของผู้สูงอายุในตำบลท่างิ้ว ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุสาธิตการแปรงฟัน จำนวน 44 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 440 บาท -ค่าสื่อให้ทันตสุขศึกษา จำนวน1 ชุดๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 3,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการ ตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3940.00

กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมที่ 8 อบรมแกนนำ วัยเก๋า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 8 อบรมแกนนำ วัยเก๋า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 80 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท -ค่าอาหารว่าง จำนวน 40 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรบมีความรู้ผ่านเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,290.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตร
2. เด็กปฐมวัยที่มีฟันผุระยะเริ่มแรกลดลงหลังได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชและผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรมากขึ้น
3. เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นและปราศจากโรคฟันผุเพิ่มมากขึ้น
4. กลุ่มวัยทำงานได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับบริการทันตกรรมเพิ่มมากขึ้น
5. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและเข้าถึงบริการมากขึ้น
6. เกิดการพัฒนาและมีการจัดบริการส่งเสริม ป้องกันในระบบบริการปฐมภูมิ ในภาคีเครือข่ายเด็กปฐมวัยและวัยเรียนโรคฟันผุลดลง ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
7.มีแกนนำวัยเก๋าที่มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีอย่างยั่งยืน


>