โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพกายและใจเด็กนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า ห่างไกลโรคภาวะซึมเศร้า ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพกายและใจเด็กนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า ห่างไกลโรคภาวะซึมเศร้า ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 2568 - L 8009- 002 -003 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า |
วันที่อนุมัติ | 27 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 22 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 26,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคซึมเศร้ามีสาเหตุหลักจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจความผิดหวัง ความสัมพันธ์ ความรัก ความสูญเสีย เป็นต้น หากไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ ทำให้ทุกปัญหากลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล จนพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ อาการโรคซึมเศร้า ได้แก่ เศร้า หดหู่ เบื่อหน่าย มีอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ รายงานสถานการณ์การฆ่าตัวตายในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2567 ศูนย์เฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย ปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566) พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 5,172 คน หรือเท่ากับ 7.94 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 14 คนหรือเสียชีวิต 1 คน ในทุก 2 ชั่วโมง และคนไทยพยายามฆ่าตัวตาย 31,110 คน หรือเท่ากับ 47.74 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 85 คน หรือมีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 7 คน ในทุก 2 ชั่วโมง (HDC, 2566) จากการทบทวนข้อมูลสอบสวนโรคและผลศึกษาวิจัยเรื่องการฆ่าตัวตาย จะพบว่า ผู้ที่ฆ่าตัวตายมักจะมีความเปราะบางมีความอ่อนแอ หรือมีปัจจัยเสี่ยงเสี่ยงอยู่ก่อน เช่น ป่วยโรคจิตเวชที่รุนแรง หนึ่งในนั้นคือ โรคซึมเศร้า ขณะที่สาเหตุส่วนใหญ่จากปัญหาอื่นๆ เช่น ผู้ที่ฆ่าตัวตายมักจะอยู่ในสภาพแวดล้อม (สังคม หรือครอบครัว) ที่มีความคาดหวังสูง และผู้ที่มีความเปราะบางหรือมีความเสี่ยงเหล่านี้เผชิญกับ วิกฤติชีวิตที่ทำให้อับอาย หรือพ่ายแพ้ ร่วมกับรู้สึกอับจนหนทางหรือตกอยู่ในสถานการณ์ ไม่มีทางออก แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย สามารถป้องกันได้โดยใช้หัก 3 ส. คือ สอดส่องมองหา ใส่ใจรับฟัง และส่งต่อ เชื่อมโยงผู้ที่มีความเครียด วิตกกังวลกับปัญหาที่เผชิญอยู่ ซึ่งมีผลต่อสมาธิและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน คนรอบข้างสามารถสังเกตอาการและพฤติกรรมที่ผิดปกตินี้และต้องรีบเข้าไปพูดคุยร่วมกันหาสาเหตุ รับฟังปัญหาอย่างเข้าใจและใส่ใจ ให้คำปรึกษา หรือส่งต่อแพทย์ได้อย่างทันท่วงที จะทำให้อาการดีขึ้นและหายขาดได้ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและคัดกรองเบื้องต้นแก่ประชาชนตำบลทุ่งหว้า จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า |
100.00 | 100.00 |
2 | 2.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า 2.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า |
100.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 70 | 26,000.00 | 1 | 26,000.00 | |
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมหลัก อบรมให้ความรู้ เรื่องส่งเสริมสุขภาพกายและใจห่างไกลโรคภาวะซึมเศร้า | 70 | 26,000.00 | ✔ | 26,000.00 |
1.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้ารู้จักเท่าทันโรคภาวะซึมเศร้า 2.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า 3.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2568 00:00 น.