กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพกายและใจเด็กนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า ห่างไกลโรคภาวะซึมเศร้า ประจำปีงบประมาณ 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพกายและใจเด็กนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า ห่างไกลโรคภาวะซึมเศร้า ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

โรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า

โรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า

ณ โรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคซึมเศร้ามีสาเหตุหลักจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจความผิดหวัง ความสัมพันธ์ ความรัก ความสูญเสีย เป็นต้น หากไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ ทำให้ทุกปัญหากลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล จนพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ อาการโรคซึมเศร้า ได้แก่ เศร้า หดหู่ เบื่อหน่าย มีอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ รายงานสถานการณ์การฆ่าตัวตายในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2567 ศูนย์เฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย ปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566) พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 5,172 คน หรือเท่ากับ 7.94 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 14 คนหรือเสียชีวิต 1 คน ในทุก 2 ชั่วโมง และคนไทยพยายามฆ่าตัวตาย 31,110 คน หรือเท่ากับ 47.74 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 85 คน หรือมีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 7 คน ในทุก 2 ชั่วโมง (HDC, 2566) จากการทบทวนข้อมูลสอบสวนโรคและผลศึกษาวิจัยเรื่องการฆ่าตัวตาย จะพบว่า ผู้ที่ฆ่าตัวตายมักจะมีความเปราะบางมีความอ่อนแอ หรือมีปัจจัยเสี่ยงเสี่ยงอยู่ก่อน เช่น ป่วยโรคจิตเวชที่รุนแรง หนึ่งในนั้นคือ โรคซึมเศร้า ขณะที่สาเหตุส่วนใหญ่จากปัญหาอื่นๆ เช่น ผู้ที่ฆ่าตัวตายมักจะอยู่ในสภาพแวดล้อม (สังคม หรือครอบครัว) ที่มีความคาดหวังสูง และผู้ที่มีความเปราะบางหรือมีความเสี่ยงเหล่านี้เผชิญกับ วิกฤติชีวิตที่ทำให้อับอาย หรือพ่ายแพ้ ร่วมกับรู้สึกอับจนหนทางหรือตกอยู่ในสถานการณ์ ไม่มีทางออก แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย สามารถป้องกันได้โดยใช้หัก 3 ส. คือ สอดส่องมองหา ใส่ใจรับฟัง และส่งต่อ เชื่อมโยงผู้ที่มีความเครียด วิตกกังวลกับปัญหาที่เผชิญอยู่ ซึ่งมีผลต่อสมาธิและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน คนรอบข้างสามารถสังเกตอาการและพฤติกรรมที่ผิดปกตินี้และต้องรีบเข้าไปพูดคุยร่วมกันหาสาเหตุ รับฟังปัญหาอย่างเข้าใจและใส่ใจ ให้คำปรึกษา หรือส่งต่อแพทย์ได้อย่างทันท่วงที จะทำให้อาการดีขึ้นและหายขาดได้ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและคัดกรองเบื้องต้นแก่ประชาชนตำบลทุ่งหว้า จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า

เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า

100.00 100.00
2 2.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า

2.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมหลัก อบรมให้ความรู้ เรื่องส่งเสริมสุขภาพกายและใจห่างไกลโรคภาวะซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมหลัก อบรมให้ความรู้ เรื่องส่งเสริมสุขภาพกายและใจห่างไกลโรคภาวะซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ
1. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2. ติดต่อประสานงานวิทยากรและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการอบรมและกิจกรรมตามโครงการ 3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการและตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า 4. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และรวบรวมหลักฐานการใช้จ่ายงบประมาณ 5. เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการให้คณะกรรมการบริหารงานกองทุนฯ 2.ขั้นตอนการดำเนินงาน
  ดำเนินตามขั้นตอนจัดอบรม ใหกับนักเรียนในเรื่องโรคภาวะซึมเศร้า จำนวน 70 คน  จัดอบรมให้ความรู้โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลทุ่งหว้า ให้ความรู้แก่นักเรียน

1 ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 2 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน จำนวน 1 มื้อๆละ  70 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 70 คน  จำนวน 2 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท 4. ค่าผ้าขาวม้า ไว้สำหรับออกกำลังกายฯ   จำนวน 70 ผืน ๆละ 110 บาท เป็นเงิน 7,700 บาท  5. ค่าแฟ้มใส่เอกสาร จำนวน 70 แฟ้ม ๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท   6 ค่าปากกา จำนวน 70 ด้าม ๆละ 10 บาท เป็นเงิน 700 บาท  7 ค่าสมุด จำนวน 70 เล่ม ๆละ 10 บาท เป็นเงิน 700 บาท   8 ค่าปากกาเคมี จำนวน 5 ด้าม ๆละ 15 บาท  เป็นเงิน 75 บาท 9. ค่ากระดาษบรู๊ฟ จำนวน 7 แผ่น ๆละ 5 บาท  เป็นเงิน  35 บาท  10 ค่ากระดาษถ่ายเอกสารประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้า จำนวน 70 ใบๆละ 2 บาท เป็นเงิน 140 บาท 11. ค่าเกียรติบัตรการเข้าอบรมโครงการให้กับผู้เข้าอบรม  จำนวน 70 ใบๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท 12. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2*2.5 ม. เป็นเงิน 450 บาท  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,000 บาท หมายเหตุ
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า  รู้จักเท่าทันโรคภาวะซึมเศร้า 2.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า 3.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้ารู้จักเท่าทันโรคภาวะซึมเศร้า
2.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า
3.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า


>