กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารดีเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 68-L3318-02-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนอนุบาลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปารณีย์ ยิ่งดำนุ่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนอนุบาลควนขนุน ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.พ. 2568 30 ก.ย. 2568 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามหลักของการพัฒนาสุขภาพ สุขภาพของประชาชนถือเป็นสำคัญ อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพของทุกคนที่นอกจากรสชาติที่ดี ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในอาหารและประโยชน์ที่ได้รับ ในยุคปัจจุบันมีอาหารมากมายหลายอย่างที่ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภค โดยเฉพาะเด็กนักเรียน มักบริโภคขนมหรืออาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งอาหารบางอย่างนั้นก่อให้เกิดโรค เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดัน และโรคอื่นๆอีกมากมาย การที่จะให้ประชาชน มีสุขภาพที่ดีไม่เจ็บป่วย จึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ควรให้การสนับสนุน ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกันให้ประชาชนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย มีคุณค่า ดังนั้นผู้ประกอบอาหารควรตระหนักถึงความสำคัญของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีการปรุงจากวัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัย เน้นวัตถุดิบที่ปลอดสารพิษและรู้ที่มาของวัตถุดิบนั้น โรงเรียนอนุบาลควนขนุน ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านใสยาว ซึ่งมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตข้างสังข์หยดอินทรีย์ซึ่งถือเป็นข้าวที่ปลอดสารเคมีในการผลิต ทางโรงเรียนได้นำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว เห็นว่า ข้าวสังข์หยดมีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถป้องกันโรคต่างๆได้ จึงมีความคิดที่จะนำข้าวสังข์หยดมาหุงให้นักเรียนบริโภค โครงการอาหารกลางวันให้นักเรียน โดยการทดลอง หุงข้าวสังข์หยด เมนูอาหารเดียวกัน ปรากฏว่า ข้าว เหลือเยอะมาก แสดงว่านักเรียนไม่ชอบรับประทานข้าวสังข์หยด แต่หุงข้าวตามท้องตลาด เมนูอาหารเดียวกัน นักเรียนรับประทานหมด เป็นข้อเปรียบเทียบว่า นักเรียนไม่เห็นคุณค่าของการเลือกบริโภคอาหาร ดังนั้นทางผู้รับผิดชอบโครงการเห็นว่าในชีวิตประจำวัน นักเรียนส่วนใหญ่ชอบที่จะกินขนมกรอบๆ จึงคิดที่จะนำข้าวสังข์หยดมาแปรรูปเป็นขนมและมีวัตถุดิบร่วมกับผลไม้ขนุน ซึ่งขนุนเป็นพืชในท้องถิ่นที่หาได้ทุกฤดูกาลมีประโยชน์ต่อร่างกาย แล้วนำมาจำหน่ายในร้านค้าสวัสดิการ จะทำให้นักเรียนตระหนักเห็นคุณค่าได้รับประโยชน์จาการบริโภคข้าวสังข์หยด จึงได้เสนอโครงการอาหารดีเพื่อสุขภาพเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโตนดด้วน สำหรับดำเนินโครงการดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ อาหารดี เพื่อสุขภาพ การแปรรูปอาหาร และประโยชน์ของข้าวสังข์หยด

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5จำนวน 150คนร้อยละ 100 มีความรู้ อาหารดี เพื่อสุขภาพ การแปรรูปอาหาร และประโยชน์ของข้าวสังข์หยด

150.00 150.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ได้

นักเรียนร้อยละ 80 มีสมรรถนะและสุขภาพร่างกายแข็งแรงตามหลักสุขบัญญัติ10ประการ ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากการแปรรูปอาหาร สุขภาพแข็งแรง

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
28 ก.พ. 68 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องอาหารดี เพื่อสุขภาพ 0 30,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร และประโยชน์ของข้าวสังข์หยดต่อสุขภาพ 2.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5จำนวน 150 คน มีความรู้ ความเข้าใจ การเลือกรับประทานอาหาร 3. นักเรียนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2568 00:00 น.