โครงการส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายแบบไทยด้วยท่าฤๅษีดัดตน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายแบบไทยด้วยท่าฤๅษีดัดตน |
รหัสโครงการ | 68-L2539-01-14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโต๊ะเด็ง |
วันที่อนุมัติ | 14 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 13,260.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวโนร์ฟาดีละห์ เจ๊ะแว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การนวดเป็นภูมิปัญญาของคนไทยเป็นศาสตร์และศิลป์ ในการดูแลรักษาสุขภาพของชนชาติไทย ซึ่งการนวดไทย และกายบริหารท่าฤาษีดัดตนเป็นที่สืบทอดมาช้านานแล้ว เป็นท่าที่ล้ำค่าของคนไทยที่สั่งสมสืบทอดมาแต่โบราณ คนไทยได้เรียนรู้วิธีการช่วยเหลือกันเอง เมื่อมีอาการ ปวดเมื่อย เจ็บป่วย รู้จักการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ในท่าทางต่างๆ หรือให้ผู้นวดให้ด้วยการบีบ นวด ยืด เหยียด ดัดดึงตนเอง หรือรู้ไว้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น การนวดนั้นเป็นศิลปะของการสัมผัสที่สร้างความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลายความเมื่อยล้า ทำให้เรารู้สึกสดชื่น ทั้งร่างกายและจิตใจ การนวดตนเอง และกายบริหารท่าฤาษีดัดตนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่มีการพัฒนาการมาเป็นลำดับและได้ถ่ายทอด ความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง จนกระทั่งมีหลักในการปฏิบัติ และวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของทุกคน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโต๊ะเด็ง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายแบบไทยด้วยท่าฤาษีดัดตน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นและมีการออกกำลังกายแบบไทยอย่างสม่ำเสมอ โดยการนำท่าฤาษีดัดตนมาประยุกต์ใช้กับท่าทางการออกกำลังกาย ส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคต่างๆ ลดลง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้แกนนำครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายแบบไทยด้วย ท่าฤาษีดัดตน แกนนำครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายแบบไทยด้วยท่าฤาษีดัดตน ร้อยละ 70 |
80.00 | 20.00 |
2 | เพื่อให้แกนนำครอบครัวได้ชักชวนประชาชนส่งเสริมการออกกำลังกายแบบไทยเพิ่มขึ้น แกนนำครอบครัวได้ชักชวนประชาชนส่งเสริมการออกกำลังกายแบบไทยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70 |
80.00 | 20.00 |
3 | เพื่อให้ประชาชนมีการรวมกลุ่มการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องโดยมีแกนนำครอบครัวเป็นแกนนำทีมในการออกกำลังกายแบบไทย ประชาชนมีการรวมกลุ่มการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องโดยมีแกนนำครอบครัวเป็นแกนนำทีมในการออกกำลังกายแบบไทย ร้อยละ 70 |
80.00 | 20.00 |
4 | เพื่อสืบสานภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์แผนไทยให้คงอยู่สืบไป มีการสืบสานภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์แผนไทยให้คงอยู่สืบไป ร้อยละ 70 |
80.00 | 20.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 13,260.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายแบบไทยด้วยท่าฤาษีดัดตน | 0 | 13,260.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมเชิงปฏิบัติสาธิตการออกกำลังกายแบบไทย ด้วยท่าฤาษีดัดตน | 0 | 0.00 | - |
1.แกนนำครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายแบบไทยด้วยท่าฤาษีดัดตน ร้อยละ70 2.แกนนำครอบครัวได้ชักชวนประชาชนส่งเสริมการออกกำลังกายแบบไทยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70 3.ประชาชนมีการรวมกลุ่มการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องโดยมีแกนนำครอบครัวเป็นแกนนำทีมในการออกกำลังกายแบบไทย ร้อยละ 70 4.มีการสืบสานภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์แผนไทยให้คงอยู่สืบไป ร้อยละ 70
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 00:00 น.