กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ ปีที2
รหัสโครงการ 2568-L8010-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2568
งบประมาณ 179,362.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสำลี ลัคนาวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลการดำเนินงานของโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ ในปีงบประมาณ 2567 ในส่วนของตัวโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมชั่วโมงการเรียนรู้และชั่วโมงปฏิบัติฝึกอบรมว่ายน้ำและการเอาตัวรอดทางน้ำได้และกิจกรรมรณรงค์การป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่ตำบลกำแพง
ในส่วนของกิจกรรมที่ 1 อบรมการเรียนรู้การว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำ ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ จากเด็กที่เข้ารับการอบรม จำนวน 30 คน เด็กที่เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้และมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นจำนวน 27 คนคิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม ในส่วนของการให้ความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ จากการทดสอบความรู้ก่อนและหลังจากวิทยากรให้ความรู้เสร็จผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจและสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้ โดยการใช้วิธีการโยนอุปกรณ์และการยื่นอุปกรณ์ ในส่วนการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลคนจมน้ำ และการช่วยฟื้นคืนชีพจากการที่ผู้เข้าอบรม จำนวน 30 คนได้รับความรู้ผู้เข้าอบรมสามารถช่วยเหลือหรือปฐมพยาบาลคนจมน้ำได้ จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 90 ของเด็กและที่เข้าร่วมอบรม และการให้ความรู้เกี่ยวกับ การลอยตัว และการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด จำนวนเด็กมีความสนใจเรียนรู้และมีความเข้าใจเป็นอย่างดี จำนวน 27 คน คิดเป็น ร้อยละ 90 ของเด็กร่วมอบรม กิจกรรมที่ 2 ชั่วโมงการฝึกปฏิบัติทักษะการลอยตัว การดำน้ำ การหายใจในน้ำ การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำจากที่ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน มีความสนใจความเข้าใจและได้รับความรู้ทุกคนที่เข้ารับการอบรมสามารถ ว่ายน้ำได้ ดำน้ำได้ หายใจในน้ำได้ ลอยตัวในน้ำได้แล้วใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้ คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนเด็กที่เข้ารับการอบรมเด็กที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 28 คนสามารถอ่านสัญลักษณ์ในป้ายแจ้งเตือน/ป้ายห้ามต่างๆได้ เพื่อลดอัตราเด็กจมน้ำได้คิดเป็นร้อยละ 93.33 ของผู้เข้าร่วมโครงการ จากสถานการณ์ที่ผ่านมาในเขตพื้นที่อำเภอละงู มีเด็กได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำและจมน้ำเสียชีวิตจำนวน 5 ราย/ปี เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งน้ำที่เด็กสามารถเล่นน้ำได้ โดยผู้ปกครองอาจจะไม่ทราบและไม่ตระหนักถึงสาเหตุการเสียชีวิตของบุตรหลาน จากการจมน้ำ หากเด็กตระหนักรู้ถึงอันตรายของการเล่นน้ำ และการช่วยเหลือตนเองหรือช่วยเหลือเพื่อนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง นอกจากนี้ควรมีผู้ปกครองที่สามารถช่วยเหลือเด็กที่เกิดอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำ และนำส่งโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันถ่วงที ซึ่งจะทำให้ลดอัตราการตายจากการจมน้ำได้ ดังนั้นสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง โดยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการว่ายน้ำและเอาชีวิตรอดในน้ำ ทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีองค์ความรู้ความปลอดภัยทางน้ำ และมีพื้นฐานในการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด ผู้ปกครองและชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือคนจมน้ำ สามารถให้การช่วยเหลื้อปฐมพยาบาลเบื้องตันได้ และมีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ของตนเองได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กในพื้นที่มีความรู้ความปลอดภัยทางน้ำ และมีพื้นฐานในการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด
  • ร้อยละ 90 เด็กและเยาวชนมีความรู้และทักษะการฝึกหัดว่ายน้ำ การเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำเพิ่มขึ้น

  • ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการที่ได้ทำกิจกรรมที่อบรมการว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำ ได้มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำได้ดี

  • ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการอบรมการปฐมพยาบาลคนจมน้ำ และการช่วยฟื้นคืนชีพ เด็กสามารถทำการการปฐมพยาบาลคนจมน้ำและการฟื้นคืนชีพได้

  • ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับ การลอยตัวและการว่ายน้ำเอาชีวิตรอดโดยการหายใจในการว่ายน้ำ ควบคุมลมหายใจและการเก็บลมหายใจได้

  • ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถลอยตัวในน้ำ ว่ายน้ำเอาชีวิตรอด มีทักษะการใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอดอย่างถูกวิธีและดำน้ำการกลั้นหายใจใต้น้ำได้

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 179,362.00 5 178,362.00 1,000.00
10 ก.พ. 68 - 10 มี.ค. 68 กิจกรรมที่ 2 รับสมัครเด็กที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 0 3,000.00 3,000.00 0.00
10 - 18 เม.ย. 68 กิจกรรมที่ 1 แต่งตั้งคณะทำงาน ประชุม ชี้แจง คณะทำงานโครงการ 0 980.00 980.00 0.00
21 เม.ย. 68 กิจกรรมที่ 3 อบรมการว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำ 0 23,187.00 23,187.00 0.00
22 - 26 เม.ย. 68 กิจกรรมที่ 4 ฝึกอบรมการว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำ ภาคปฏิบัติ แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 40 คน (รุ่นละจำนวน 15 ชม.) 0 145,450.00 145,450.00 0.00
28 - 29 เม.ย. 68 กิจกรรมถอดบทเรียน 0 5,745.00 5,745.00 0.00
6 พ.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ 0 1,000.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 179,362.00 5 178,362.00 1,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อไห้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ
  2. เด็กและเยาวชน มีความรู้และทักษะ การว่ายน้ำ เด็กสามารถเอาชีวิตรอดจากจมได้
  3. ไม่มีเด็กเสียชีวิต จากการตกน้ำ จมน้ำ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2568 10:11 น.