โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ ปีที2
กิจกรรมถอดบทเรียน จากการดำเนินโครงการดังกล่าว
ประชุมระดมความคิด จากกิจกรรม ร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้จัด กลุ่มเป้าหมาย
เด็กและเยาวชน จำนวน 80 คน
คณะกรรมการฝ่ายติดตามและประเมินผล จำนวน 6 คน
เจ้าหน้าที่โครงการ จำนวน 19 คน
คณะวิทยากรสถานีเรือ จำนวน 2 คน
ได้สรุปเนื้อหาและวัดละดับความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการ

กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้เกี่ยวกับ การลอยตัว และการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด
การลอยตัว การว่ายน้ำเอาชีวิตรอดและ การใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอด ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ (จำนวน 30 ชั่วโมง) แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่มๆละ 40 คน ใช้เวลา 3 ชม./วัน จำนวน 5 วัน โดยแบ่งเด็กเป็นกลุ่มภาคเช้า - กลุ่มภาคบ่าย
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 1 เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยในน้ำ การทรงตัวในน้ำ ฝึกการดำน้ำ (ดำน้ำ เป่าลม) การกลั้นหายใจใต้น้ำ การลืมตาใต้น้ำ ฝึกการหายใจ การลอยตัว แบบนอนคว่ำ (ใช้อุปกรณ์ คือแว่นตาดำน้ำ)
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 2 เรื่อง ฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ ฝึกการหายใจ ฝึกการลอยตัวท่าต่างๆ รวมถึงการลอยตัวแบบนอนหงาย และการใช้อุปกรณ์ช่วยในการ ลอยตัว รวมถึงรู้วิธีเรียกให้ผู้อื่นมาช่วยผู้ประสบภัย (ใช้อุปกรณ์ คือ แว่นตาดำน้ำ เสื้อชูชีพ)
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 3 เรื่องฝึกเตะเท้าคว่ำ ฝึกเตะเท้าหงาย ฝึกการลอยตัว ฝึกการกระโดดน้ำจากขอบสระด้านน้ำลึก และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นๆ (ใช้อุปกรณ์คือ เสื้อชูชีพ )
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 4 เรื่องฝึกเตะเท้าคว่ำ ฝึกเตะเท้าหงาย ฝึกการลอยตัว ฝึกการยืน ทรงตัวจากท่าเตะเท้าคว่ำและเตะเท้าหงาย และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นๆ
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 5 เรื่อง ฝึกการเตะเท้าให้ได้ระยะทาง 5 เมตรแล้วพลิกตัว ฝึกการ กระโดดจากขอบสระด้านน้ำลึกแล้ว ฝึกการลอยตัวให้ได้นาน 10 วินาที และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นๆ
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 6 เรื่อง ฝึกการเตะเท้าเท้าคว่ำแล้วพลิกตัวหงาย ฝึกการเตะเท้าหงาย ใช้แขนผลักน้ำข้าง ๆ ลำตัวแล้วพลิกตัวโดยเคลื่อนที่ให้ได้ระยะทางอย่างละ 10 เมตร ฝึกการลอยตัวท่าต่างๆให้ได้นาน 20 วินาที และฝึก ปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจาก ชั่วโมงที่ผ่านมา (ใช้อุปกรณ์ ทุ่นช่วยชีวิตและ เสื้อชูชีพ)
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 7 เรื่อง ชั่วโมงแรกของการฝึกลอยตัวแบบนอนคว่ำแล้วเงยหน้าหายใจ การลอยตัวในท่าต่างๆ ปฏิบัติให้ได้ 30 วินาที และเป็นชั่วโมงแรกของการฝึกช่วย ผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา (ใช้อุปกรณ์คือ เชือกกู้ภัยทางน้ำ )
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 8 เรื่อง การฝึกการหายใจเข้าและออกทางปาก เพิ่มการปฏิบัติเป็น 15 ครั้งพร้อมเคลื่อนที่ การลอยตัวในท่าต่างๆให้ปฏิบัติ 30 วินาทีเช่นเดียวกับชั่วโมงที่แล้ว การฝึกเตะเท้าคว่ำ การฝึกเตะเท้าหงาย เพิ่มการปฏิบัติเป็น 15 เมตร โดยการฝึก เตะเท้าหงายให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ ชั่วโมงแรกของ การฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการนอนราบลงกับพื้นยื่นแผ่นโฟม (Kickboard) และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 9 เรื่อง การฝึกการหายใจเข้าและออกทางปากให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 20 ครั้ง แล้วเคลื่อนที่ด้วยการลอยตัวในท่าต่างๆ ให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 40 วินาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัวให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 1 นาที การฝึกเตะเท้าคว่ำให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย และการเตะเท้าหงายให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ การฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการนอน ราบลงกับพื้น ยื่นแผ่นโฟม (Kickboard) ในชั่วโมงนี้ให้ปฏิบัติโดยให้ยื่นแผ่นโฟมห่าง จากขอบสระ 1 ช่วงแขน และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 10 เรื่องการฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา การฝึกการหายใจเข้าและออกทางปาก ปฏิบัติ 20 ครั้ง แล้วเคลื่อนที่ไปด้วยในน้ำลึก การลอยตัวในท่าต่างๆให้ปฏิบัติ 40 วินาที การเกาะขวดน้ำดื่ม ลอยตัวปฏิบัติ 1 นาที การลอยตัวแบบนอนคว่ำ เงยหน้าหายใจ 5 ครั้ง การฝึกเตะเท้าคว่ำให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย และการเตะเท้าหงายให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ และเป็นชั่วโมงแรก ของการฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการยื่นท่อ PVC และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 11 เรื่อง การฝึกการดำน้ำการกลั้นหายใจใต้น้า แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา การฝึกการหายใจเข้า และออกทางปาก ปฏิบัติ 20 ครั้งแล้วเคลื่อนที่ไปด้วยในน้ำลึก การลอยตัวในท่าต่างๆให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 50 วินาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัวเพิ่มการปฏิบัติเป็น 2 นาที การเคลื่อนที่ในน้ำฝึกทักษะใหม่คือ การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย(คว่ำ)แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ(หงาย) โดยให้พลิกตัวทุกระยะ 5 เมตร ในชั่วโมงนี้ให้ฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการย่อ ตัวให้ต่ำ ยื่นท่อ PVC ห่างจากขอบสระ 2 เมตร และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจาก ชั่วโมงที่ผ่านมาจุดประสงค์การเรียนรู้
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 12 เรื่องการฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา เพิ่มระยะทางเป็น 2 เมตร การลอยตัวท่านอนหงาย การกระโดดจากขอบสระด้านน้ำลึกแล้วลอยตัวท่าลูกหมาตกน้ำ เพิ่มการปฏิบัติเป็น 1 นาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัวเพิ่มการปฏิบัติเป็น 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ)แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ (หงาย) โดยให้พลิกตัวทุกระยะ 5 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การลอยตัวท่าลูกหมาตกน้ำ เตะเท้าคว่ำ (หงาย) กลับ ปฏิบัติ 5 เมตร การฝึกเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่านั่งที่ขอบสระ และการเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ในน้ำตื้น ฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 13 เรื่อง การฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา ปฏิบัติ 2 เมตร การลอยตัวท่านอนหงายเพิ่มการปฏิบัติเป็น 2 นาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ปฏิบัติ 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ) แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ (หงาย) โดยให้พลิกตัวทุกระยะ 5 เมตร การลอยตัวท่าลูกหมาตกน้ำ เตะเท้าคว่ำ (หงาย) กลับ ปฏิบัติ 5 เมตร การฝึกเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ เพิ่มการปฏิบัติเป็น 5 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การว่ายท่าวัดวา โดยการเตะเท้าคว่ำ หมุนแขนลงน้ำสลับกัน เงยหน้าหายใจ ปฏิบัติ 5 เมตร การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่านั่งยองๆที่ขอบสระ และการเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ในน้ำลึก ฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 14 เรื่องการฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ การหายใจเข้า ออกทางปาก พร้อมการเคลื่อนที่ยังคงฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง การลอยตัวท่านอนหงายเพิ่มการปฏิบัติเป็น 3 นาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ปฏิบัติ 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ(หงาย) ปฏิบัติ 25 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ) ปฏิบัติ 25 เมตรโดยให้หายใจด้วยท่าลูกหมาตกน้ำระหว่างเตะเท้าคว่ำ การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) ปฏิบัติ 5 เมตรแล้วเลี้ยวกลับ ระยะทาง 5 เมตร การเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ ปฏิบัติ 5 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงายระยะทาง 5 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การายท่าวัดวา โดยการเตะเท้าคว่ำ หมุนแขนลงน้ำสลับกัน เงยหน้าหายใจ ปฏิบัติ 10 เมตร การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่านั่งคุกเข่าที่ขอบสระ การเคลื่อนที่ในน้ำลึกไปจับอุปกรณ์ลอยน้ำ ระยะทาง 3 เมตร ฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 15 เรื่อง การฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ การหายใจเข้า ออกทางปาก พร้อมการเคลื่อนที่ยังคงฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง การลอยตัวท่านอนหงายปฏิบัติ และการเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ปฏิบัติท่าละ 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) ปฏิบัติ 25เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ) ปฏิบัติ 25 เมตรโดยให้หายใจด้วยท่าลูกหมาตกน้ำระหว่างเตะเท้าคว่ำ การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) ปฏิบัติ 5 เมตรแล้วเลี้ยวกลับ ระยะทาง 5 เมตร การเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ ปฏิบัติ 5 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย ระยะทาง 5 เมตร การว่ายท่าวัดวา พร้อมหายใจขณะว่ายน้ำ ให้ปฏิบัติ 15 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่ายืนที่ขอบสระ กระโดดน้ำด้านน้ำลึก ลอยตัว 1 นาที แล้วว่ายไปเกาะอุปกรณ์ลอยน้ำพยุงตัว เตะเท้าระยะทาง 3 เมตรแล้วเคลื่อนที่เข้าฝั่ง การโยนอุปกรณ์ช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำห่างจากขอบสระ 3 เมตร และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
หมายเหตุการใช้อุปกรณ์ในการฝึกเพื่อให้เด็กรู้จักการใช้อุปกรณ์เช่น แว่นตาดำน้ำ เสื้อชูชีพ ทุ่นช่วยชีวิต และเชือกกู้ภัยทางน้ำ
เป้าหมาย
เด็กอายุ 8- 15 ปี จำนวน 80 คน แบ่งออกเป็น 2 รุ่นๆละ 40 คน
ทีมวิทยกร จำนวน 6 คน
คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 19 คน
งบประมาณ
ค่าวิทยากรชั่วโมงปฎิบัติ (จำนวน 30 ชั่วโมง)(400 บาท x 6 คน x 30 ชม.) เป็นเงิน 72,000 บาท
ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าฝึกอบรม 80 คน แบ่งเป็น เช้า 40 คน - บ่าย 40 คน มื้อละ 35 บาท จำนวน 5 วัน เป็นเงิน14,000 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่โครงการ จำนวน 19 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 5 วัน เป็นเงิน 6,650 บาท
ค่าเช่าสระน้ำจำนวน 5 วันๆ เป็นเงิน 8,000 บาท
เชือกกู้ภัยทางน้ำแบบลอยตัวในน้ำ ขนาด 10 มม.ยาว 20 เมตร มีห่วงพลาสติกและตะขอเหล็ก พร้อมกระเป๋าสำหรับใส่เชือกลอยน้ำ มีแถบสะท้อนแสง พกพาแบบสะพายได้และคาดเอวได้ จำนวน 5 ชุดๆละ 1,400 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
ทุ่นช่วยชีวิตกู้ภัยทางน้ำ พร้อมเชือกลากจูงและเข็มขัดคาดเอว แบบปรับได้ รูปทรงตอร์ปิโด วัสดุ โพลีเอทิลีน มีสี เหลือง เขียวมะนาว ส้ม แดง จำนวน 10 ลูกๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
เสื้อชูชีพสำหรับเด็ก อายุ 8 - 15 ปี จำนวน 40 ตัว
เสื้อชูชีพมาตรฐานสีส้ม ใช้โฟมหนา 25 มม เนื้อผ้า 420 D เคลือบ PU กันน้ำด้านใน พร้อมสกรีน size M 20 ตัว ราคาตัวละ 360 เป็นเงิน 7,200 บาท
เสื้อชูชีพมาตรฐานสีส้ม ใช้โฟมหนา 25 มม เนื้อผ้า 450 D เคลือบ PU กันน้ำด้านใน พร้อมสกรีน size L 20 ตัว ราคาตัวละ 380 เป็นเงิน 7,600 บาท
แว่นตาดำน้ำสำหรับเด็ก อายุ 8 - 15 ปี อันละ100 บาท จำนวน 80 อัน เป็นเงิน 8,000 บาท
ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีทักษะการว่ายน้ำและการเอาตัวรอดในน้ำได้
จกรรมที่ 3.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวน 2 ชั่วโมง)
การเรียนรุ้กับแหล่งน้ำเสี่ยง
การเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแหล่งน้ำ
การเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะความปลอดภัยในกิจกรรมทางน้ำ
กิจกรรมที่ 3.2 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวน 2 ชั่วโมง) การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
การร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำโดยการโยนอุปกรณ์
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำโดยการยื่นอุปกรณ์
กิจกรรมที่ 3.3 อบรมการปฐมพยาบาลคนจมน้ำ และการช่วยฟื้นคืนชีพ ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวน 1 ชั่วโมง) การปฐมพยาบาลคนจมน้ำการฟื้นคืนชีพ
กิจกรรมที่ 3.4 ให้ความรู้เกี่ยวกับ การลอยตัว และการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด ชั่วโมงเรียนรู้ ( จำนวน 1 ชั่วโมง) การหายใจในการว่ายน้ำ การควบคุมลมหายใจ และการเก็บลมหายใจ
เป้าหมาย
เด็กอายุ 8- 15 ปี จำนวน 80 คน
คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 19 คน
งบประมาณ
ค่าวิทยากรชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวน 6 ชั่วโมง) (600 บาท x 2 คน x 6 ชม.) เป็นเงิน 3,600 บาท
ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมรับการฝึกอบรม ตลอดจนคณะกรรมการจำนวน 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 99 คน เป็นเงิน 7,425 บาท
ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าฝึกอบรม ตลอดจนคณะกรรมการดำเนินโครงการจำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 99 คน จำนวน 6,930 บาท
ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด (1.2x2.4) จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 432 บาท
ค่าวัสดุอุปกรณ์ ชั่วโมงการเรียนรู้ เช่น แฟ้ม ปากกา สมุด ป้ายแขวนคอ จำนวน 80 ชุดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้
ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ
การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
การปฐมพยาบาลคนจมน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพ
การลอยตัว และการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด
1.1 แต่งตั้งคณะทำงานโครงการ
1.2 ประชุมคณะทำงาน วางแผนการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
กลุ่มเป้าหมาย
คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 28 คน งบประมาณ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเข้าร่วมประชุม 28 คน 1 มื้อ ๆ 35 บาท เป็นเงิน 980บาท
จัดประชุมวันที่ 18 เมษายน 2568 ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100
-....
-...
เปิดรับสมัครเด็กและเยาวชนในชุมชน ในหมู่บ้าน อายุ ระหว่าง 8 - 15 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 80 คน คุณสมบัติผู้สมัตรเข้าร่วมโครงการ
เด็กในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุ 8 - 15 ปี
คำยินยอมการสมัครเข้าร่วมโครงการและฝึกปฎิบัติจากผู้ปกครอง
ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในหมู่บ้าน พร้อมบอกคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลออนไลน์
จัดทำอัตสปอร์รณรงค์การป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวน 1 งานเป็นเงิน 3,000 บาท
เด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 80 คน