โครงการสุขาภิบาลอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภคในชุมชน ปี2568
ชื่อโครงการ | โครงการสุขาภิบาลอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภคในชุมชน ปี2568 |
รหัสโครงการ | 02-L8283-02-68 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมสุขาภิบาลเขตเทศบาลตำบลหนองจิก |
วันที่อนุมัติ | 31 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนริสา บุญเทียม |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวรอซีดะห์ ลาเตะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.83992,101.17608place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
อาหารนับเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ และเป็นสาเหตุสำคัญต่อการมีสุขภาพดีหรือไม่ดีของผู้บริโภคทั้งนี้ เพราะมีโรคหลายโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง หรือบริโภคอาหารที่มีสิ่งปนเปื้อนจากสารเคมีหรือจุลินทรีย์ อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีการผลิตอาหารมีการนำสารเคมีที่ไม่เหมาะสมมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร และอาหารที่จัดไว้บริการไม่สะอาด ไม่ปลอดภัย ก็อาจทำให้เกิดโรคระบาดได้โดยมีน้ำและอาหารเป็นสื่อนำเชื้อโรคซึ่งจะก่อให้เกิดการเจ็บป่วยได้และการดูแลสุขภาพในเรื่องความสวยความงามก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องของมนุษย์ ที่มีการใช้บริการกันแถบทุกวันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และร้านค้าที่ให้บริการก็ยังไม่ให้ความสำคัญกับหลักสุขาภิบาลที่ถูกต้องด้วยดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและความมีสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค ซึ่งเป็นการยกระดับและพัฒนาคุณภาพงานคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเปิดให้บริการแก่ผู้บริโภค หากผู้บริโภคประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย อีกทั้งยังเฝ้าระวังการโฆษณาหลอกลวงจากสื่อต่าง ๆ ซึ่งผู้บริโภคสามารถมาร้องเรียนได้ด้วยตัวเอง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอย มีความเข้าใจในงานคุ้มครองผู้บริโภคและตระหนักถึงความปลอดภัยของบริโภค ร้านอาหารและแผงลอยมีความเข้าใจในงานคุ้มครองผู้บริโภคและตระหนักถึงความปลอดภัยของบริโภค |
10.00 | 15.00 |
2 | 2.เพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หากผู้บริโภคประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ซึ่งผู้บริโภคสามารถมาร้องเรียนได้ด้วยตัวเอง ผู้บริโภคสามรถมาร้องเรียนได้ด้วยตนเอง |
20.00 | 25.00 |
3 | 3.เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย และตลาดนัด สามารถนำตัวอย่างอาหารเพื่อมารับการตรวจสารปนเปื้อนจากเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถนำอาหารมาตรวจสารปนเปื้อนจากเจ้าหน้าที่ได้ |
20.00 | 25.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
17 - 28 ก.พ. 68 | ลงพื้นที่ตรวจร้านอาหารและแผงลอย /ร้านชำมินิมามาร์ต/เซเว่น | 0 | 20,000.00 | - | ||
28 ก.พ. 68 | ติดตามประเมินผลการตรวจร้าน | 0 | 0.00 | - | ||
3 มี.ค. 68 | มอบป้ายสำหรับร้านอาหารและแผงลอยที่ผ่านการประเมิน SAN | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 |
1.ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยมีความเข้าใจในงานคุ้มครองผู้บริโภคและตระหนักถึงความปลอดภัยของบริโภค
2..ผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอยและตลาดนัด สามารถนำตัวอย่างอาหารเพื่อมารับการตรวจสารปนเปื้อนจากเจ้าหน้าที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2568 10:55 น.