โครงการสูงวัย สมองดี ห่างไกลหกล้ม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
ชื่อโครงการ | โครงการสูงวัย สมองดี ห่างไกลหกล้ม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2971-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมมุสลิมคนรักษ์สุขภาพตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 23,930.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางรอปีอ๊ะ มาหะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ เมื่อมีอายุมากขึ้นย่อมมีความเสื่อมของร่างกายในทุกระบบทั้งความเสื่อมของโครงสร้างและการทำหน้าที่ เป็นวัยแห่งการเข้าสู่ช่วงของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเตรียมรับมือกับรูปแบบการทำกิจกรรม การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงทั้งการทำงานสู่วัยเกษียณ การทำกิจกรรมทางสังคมกับเพื่อนสู่การอยู่บ้าน หรือการเลี้ยงหลาน การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือเพื่อเผชิญกับปัญหาสุขภาพนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ โดยเฉพาะด้านการรู้คิด (cognitive function) เนื่องจากการทำงานของสมองมีผลต่อการออกแบบการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต การแก้ไขปัญหา และการรับรู้ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิต หากเกิดปัญหาความจำเสื่อม สมองเสื่อมหรือเกิดภาวะหกล้ม จะมีผลต่อทั้งปัญหาสุขภาพและปัญหาด้านสังคม เมื่อผู้สูงอายุสมองเสื่อมหรือหกล้มแล้วจะนำมาซึ่งความทุกข์ทรมานทั้งผู้ป่วยและครอบครัว เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ และครอบครัว ตลอดจนผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น ค่ารักษาพยาบาลขณะอยู่ในโรงพยาบาล การสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง การสูญเสียเวลาในการทำงานของญาติ ความต้องการการดูแลในระยะยาวเมื่อเกิดความพิการ และเป็นการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
หลักฐานทางวิชาการระบุว่าวิธีลดความเสี่ยงของการหกล้มที่สามารถทำเองได้ ค่าใช้จ่ายน้อย และได้ผลมากที่สุด คือการออกกำลังกาย เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความสามารถในการทรงตัวและการเดิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการหกล้มในผู้สูงอายุ ตลอดจนการได้รับการแก้ไขปัญหาทางสมองก็ช่วยลดความเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุได้เช่นกัน แม้ว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทุกคนจะไม่ล้ม แต่มีหลายอาการที่อาจทำให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีความเสี่ยงที่จะล้มเพิ่มขึ้น
จากปัญหาดังกล่าว ทางชมรมมุสลิมคนรักษ์สุขภาพตำบลกะรุบี ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี จึงเล็งเห็นความสำคัญและได้จัดทำโครงการสูงวัย สมองดี ห่างไกลหกล้ม ประจำปีงบประมาณ 2568เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายและการมีสุขภาพดีในผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม เพื่อป้องกันการพลัดหกล้มและบาดเจ็บรุนแรงในผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถจัดการออกกำลังกาย จัดอาหาร และสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุเสี่ยงล้ม และเพื่อป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายและการมีสุขภาพดีในผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม 1.ผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้มผ่านการประเมิน TUG ดีขึ้น |
1.00 | 2.00 |
2 | เพื่อป้องกันการพลัดหกล้มและบาดเจ็บรุนแรงในผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม 1.ผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้มผ่านการประเมิน TUG ดีขึ้น |
1.00 | 2.00 |
3 | เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถจัดการออกกำลังกาย จัดอาหาร และสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุเสี่ยงล้ม ผู้ดูแลผ่านแบบประเมินหลังอบรม ร้อยละ 80 |
1.00 | 2.00 |
4 | เพื่อป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุผ่านการประเมิน MMSE-Thai 2022 ได้ |
1.00 | 2.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | อบรมผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม | 0 | 11,900.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | ปฏิบัติออกกำลังกายในชุมชน | 0 | 0.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | อบรมฝึกฝนสมอง | 0 | 6,460.00 | - | ||
รวม | 0 | 18,360.00 | 0 | 0.00 |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2568 00:00 น.