โครงการสร้างเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง |
รหัสโครงการ | 2568-L4135-02-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม. หมู่ 5 บ้านไบก์ |
วันที่อนุมัติ | 5 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 19,525.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรอฮานา การอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 45 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 896 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ปัจจัยที่ทำให้เกิด NCDs ในประเทศไทยได้แก่พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่พึงประสงค์ โดยพบว่า อัตราการบริโภคโซเดียม และน้ำตาลของประชากรไทยสูงเป็น 2 เท่า และ 4 เท่าของปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคต่อวัน นอกจากนั้น การสูบบุหรี่ยังคงเป็น สาเหตุการเสียชีวิต และเจ็บป่วยอันดับต้น ๆ ของคนไทยด้วย จากการสำรวจปัญหาสุขภาพของประชาชนชุมชนบ้านไบก์ ในปี 2567 ที่ผ่านมา ในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 80 คน และโรคเบาหวาน จำนวน 30 คน อีกทั้งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การเสริมสร้างให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่วมกับการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพในชุมชน สามารถป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายความเครียดการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเอง เป็นต้น
ทางชมรม อสม. หมู่ 5 บ้านไบก์ได้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อลดอัตราการป่วยและช่วยป้องกันโรคให้ประชาชนในพื้นที่ ให้มีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเอง ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 ประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพทุกเดือน ร้อยละ 80 ของ ประชาชนอายุ 15 ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพ |
1.00 | 1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 19,525.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมติดตามตรวจสุขภาพประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ทุกเดือน | 0 | 10,000.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ฯ | 0 | 9,525.00 | - |
1.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และวิธีการดูแลสุขภาพ อาหาร การป้องกันโรคต่างๆ 2.ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น 3.ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลในครอบครัวได้ 4.ประชาชนได้รับการตรวจสุขภาพทุกเดือน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2568 00:00 น.