กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดเสี่ยง ชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68L70080111
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอามีหน๊ะ มะดีเยาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายไพรจิตร บุญช่วย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไตวายเรื้อรัง ในระยะแรกมักไม่พบอาการผิดปกติทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตมักตรวจพบเมื่อโรคดำเนินไปมากแล้วหรือเมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ( End Stage renal disease: ESRD ) ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไตได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมการล้างไตทางช่องท้องหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการศึกษาในประเทศไทยพบว่า ความชุกของโรคไตวายเรื้อรังตั้งแต่ระยะที่ 3 ขึ้นไปมีประมาณร้อยละ 2.9 – 13 จากประชากรทั้งประเทศประมาณ 70 ล้านคน หรืออยู่ในช่วง 2 ล้าน ถึง 9 ล้านกว่าคนสาเหตุของการเกิดโรคไตเรื้อรังเกิดจากโรคเบาหวานร้อยละ 36.3 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 23.3 ภาวะทางเดินปัสสาวะอุดกั้นร้อยละ 4.79 และโรคหลอดเลือดฝอยอักเสบร้อยละ 2.43 และมีเพียงผู้ป่วยร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังจากข้อมูลสถานะสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปี 2565-2567 มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 115 รายผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 243 ราย ในจำนวนนี้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 75 คนผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนทางไต stage 1-5 จำนวน 67 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.26 ของผู้ป่วยทั้งหมดและมีภาวะแทรกซ้อนทางไต stage 3 ขึ้นไป จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.74 ของผู้ป่วยทั้งหมดหากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางไตเพิ่มมากขึ้นย่อมส่งผลต่อภาระค่ารักษาพยาบาล ทั้งส่วนของภาครัฐผู้ป่วยและครอบครัวได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยได้รับการคัดกรองภาวะไตเสื่อมได้รับการคืนข้อมูลและรับความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อมโดยมีการจัดตั้งกลุ่มชะลอไตเสื่อมเพื่อคอยกระตุ้นเตือนและช่วยเหลือกันจะช่วยให้ไตเสื่อมช้าลง และลดภาระค่าใช้จ่ายได้ในทุกภาคส่วน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการลดเสี่ยงชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประจำปีปีงบประมาณ 2567 ขึ้นโดยมีเป้าหมายให้ชุมชนมีความรู้ เข้าใจและเข้าถึงข้อมูลสุขภาพเรื่องภาวะไตเสื่อมมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้มีคลินิกชะลอไตเสื่อมในสถานบริการ

มีการจัดระบบริการ รูปแบบการดำเนินการคลินิกไตวายเรื้อรังที่ชัดเจน

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวเพื่อป้องกัน ไตเสื่อม และชะลอไตเสื่อมระยะสุดท้าย

ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง และผู้ดูแลที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไตเสื่อม และชะลอไตเสื่อมระยะสุดท้าย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 85 22,150.00 0 0.00
13 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 เตรียมความพร้อมทีมงานเพื่อดำเนินงานเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน 30 9,000.00 -
13 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในผู้ป่วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแล 25 11,350.00 -
13 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 เยี่ยมบ้านเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง 30 1,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดคลินิกชะลอไตเสื่อม และพัฒนารูปแบบระบบการดูแลผู้ป่วย 2.ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง และผู้ดูแลที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไตเสื่อม และชะลอไตเสื่อมระยะสุดท้าย 3.เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแลป้องกันปัญหาโรคไตเสื่อมในผู้ป่วยในชุมชน .

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2568 00:00 น.