กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีสร้างได้ด้วยวัคซีน ปี 2568
รหัสโครงการ 2568-L4135-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 25,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอะหมัดลุตฟี กามา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติ ฉบับที่สอง เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านวัคซีนในระยะ 5 ปี พ.ศ. 2560-2564 ต่อเนื่องจากนโยบายและแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติ ฉบับแรก มีเป้าหมายสำคัญ คือ การสร้างความมั่นคงและการพึ่งตนเองด้านวัคซีน ประชาชนมีวัคซีนใช้อย่างเพียงพอ สามารถเข้าถึงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0-5 ปี นับเป็นพื้นฐานสำคัญของการ ป้องกันโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เพื่อให้เด็กห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุขที่ว่าด้วย เด็กอายุ 0-5 ปี จะต้องได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์อายุ ร้อยละ 100 และโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนต้องหายไปจากประเทศไทย การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นกลวิธีในการป้องกันควบคุมโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด กระทรวงสาธารณสุขได้จัดให้มีการบริการวัคซีนขั้นพื้นฐานตามช่วงอายุที่เหมาะสม เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่เด็กกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยทุกคน ตามสิทธิประโยชน์พื้นฐานในการบริการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้คำแนะนำของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งสำหรับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่ให้บริการมีวัคซีน 11 ชนิด ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) วัคซีนป้องกันโรค ตับอักเสบบี(HB) วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB-Hib) วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน (OPV) วัคซีนโรต้า (Rota) วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV) วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (LAJE) วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP) วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจาก เชื้อเอชพีวี (HPV) และวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก (dT) ซึ่งป้องกันทั้งหมด 13 โรค ได้แก่ โรคตับอักเสบบี วัณโรค
โรคคอตีบ โรคบาดทะยัก โรคไอกรน โรคฮิบ โรคโปลิโอ โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคคางทูม
โรคไข้สมองอักเสบเจอี และมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี และกำหนดให้วัคซีนในผู้ใหญ่ ได้แก่ วัคซีนรวมป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก (dT) วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) วัคซีนรวม ป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมัน (MR) และวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (HB) ด้วยสภาพการณ์ปัจจุบัน การดำเนินงานในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่หมู่ที่ 1,2 และหมู่ที่ 8 ตำบลบุดี มีประชากรเด็กอายุ 0- 5 ปี ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 280 คน และได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ จำนวน 245 คน คิดเป็น 87.5 % ซึ่งต้องติดตามเด็กอีกจำนวน7 คน ถึงจะทำได้มากกว่า 90%ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี แต่ยังมีเด็กที่ฉีดวัคซีนล่าช้า ทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุตามเป้าหมาย การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค นอกจากกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี แล้วยังมีกลุ่มหญิงที่มีอายุ 11-20 ปี ที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV เนื่องจาก โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคที่พบมากในหญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ในแต่ละปี หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงถึงปีละเกือบหมื่นราย และมีอัตราเสียชีวิตเกิน 50% นับว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นแนวทางการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยหลักการสำคัญคือ ควรฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์ที่กำหนด
  1. ร้อยละ 90 ของเด็ก 0- 5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
0.00
2 2. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
0.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มหญิงที่มีอายุ 11-20 ปี ให้ความสำคัญ ในการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มหญิงอายุ 11-20 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,500.00 0 0.00
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน ในเด็กอายุ 0-5 ปี 0 12,750.00 -
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกHPV 0 12,750.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90 เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ร้อยละ 90
  2. ร้อยละ 80 ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  3. กลุ่มหญิงที่มีอายุ 11-20 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2568 00:00 น.