โครงการการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการควบคุมป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ชื่อโครงการ | โครงการการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการควบคุมป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส |
รหัสโครงการ | 68-L8422-01-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลเจาะไอร้อง |
วันที่อนุมัติ | 27 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 27,120.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมารียะห์ มะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 240 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักกการและเหตุผล
ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง พบว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุทำให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตมาก ประมาณปีละกว่า ๕,๐๐๐ ราย เฉลี่ยวันละ ๑๔ ราย แต่ละปีพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย อายุที่พบเฉลี่ยประมาณ ๓๐ – ๕๐ ปี ผู้ป่วยกว่า ร้อยละ ๘๐ มีอายุต่ำกว่า ๖๐ ปี กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าคนทั่วไปได้แก่ ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคน หรือติดเชื้ออื่นๆ เช่น เชื้อโรคเริมหรือเอดส์ มีประวัติการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม รวมทั้งผู้หญิงที่สูบบุหรี่เป็นประจำด้วย (สำนักงานพัฒนาระบบระบบข้อมูลข่าวสุขภาพ)
จากผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี อายุ ๓๐ - ๖๐ ปี อำเภอเจาะไอร้อง ปี ๒๕๖๖พบว่า มีสตรีวัยเจริญพันธุ์อายุ ๓๐-๖๐ปี จำนวน ๑,๕๕๔ คน ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก จำนวน ๗๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๐๑ ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อย ปัญหาที่เป็นสาเหตุที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือ ปัญหาด้านความรู้ และมีทัศนะคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจอีกทั้งอาจเข้าใจว่าโรคมะเร็งปากมดลูกไม่เกิดกับทุกคน เพราะในหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ยังพบผู้ป่วยน้อยเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ
โรงพยาบาลเจาะไอร้อง จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการควบคุมป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกได้มากขึ้น และจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง
หมู่บ้านที่อาศัยอยู่ยังพบผู้ป่วยน้อยเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ
โรงพยาบาลเจาะไอร้อง จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการควบคุมป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกได้มากขึ้น และจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก
|
0.00 | |
2 | เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกHPV DNA TEST (สะสม ๕ ปี) |
0.00 | |
3 | สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับส่งต่อและรักษาทุกราย สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ที่ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกHPV DNA TEST พบผลผิดปกติได้รับการส่งต่อร้อยละ>๗๐ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | การส่งเสริมสุขภาพสตรีในการควบคุมป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก | 0 | 27,120.00 | - | ||
รวม | 0 | 27,120.00 | 0 | 0.00 |
- สตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกHPV DNA TEST
- สตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ที่ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกHPV DNA TEST พบผลผิดปกติได้รับการส่งต่อ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2568 00:00 น.