กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนล้อมรักษ์ (CBTX) ในชุมชน รพ.สต.บ้านศาลามะปราง
รหัสโครงการ 68-L3367-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 22,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
50.00
2 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด
12.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหายาเสพติดของประเทศไทยเป็นปัญหาเรื้อรังปัญหาหนึ่ง โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ทวีขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้จำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นปัญหาที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและสังคมทั้งผู้เสพ ครอบครัว และชุมชน สถานการณ์ยาเสพติดสำหรับสถิติของผู้ป่วยสารเสพติดในประเทศไทย จากรายงานผลการดำเนินงานตามแบบบำบัดรักษาของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 พบว่ามีผู้เข้ารับการบำบัด ทั้งหมด 120,925 คน โดยแบ่งเป็นชาย จำนวน 1063,709 คนและหญิง จำนวน 14,206 คน นักเรียน/นักศึกษา จำนวน 4,335 คน ว่างงาน จำนวน 24,349 คน และอื่นๆ จำนวน 17,105 คน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีกทั้งส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าจำนวประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป เป็นผู้ที่ดื่มสุรา ประมาณ 15.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 28.4 โดยเป็นผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอ 6.98 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 12.5 และเป็นผู้ที่ดื่มนานๆ ครั้ง 8.91 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.9 ในกลุ่มอายุ 25 - 44 ปี มีอัตราการดื่มสุราสูงสุด ร้อยละ 36 รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 20 - 25 ปี ร้อยละ 33.5 ตามลำดับ การใช้สุรา/สารเสพติดมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการทางจิตหรือเรียกว่าภาวะโรคจิตเวชสุรา/สารเสพติด ซึ่งเมื่อสารดังกล่าวผ่านเข้าสู่สมองมีผลทำให้สารสื่อนำประสาทหรือสารโดปามีนในสมองผิดปกติ หากมีการเสพติด/ดื่มหนักมากก็จะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งทางร่างการและทางจิตเวชได้ เช่น ภาวะหวาดระแวง หลงผิด ประสาทหลอน เป็นต้น กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับภาคีเครือข่ายดำเนินการการบำบัดรักษายาเสพติดภายใต้นโยบาย “ผู้เสพคือผู้ป่วย” ให้โอกาสผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาแทนการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม วิธีที่คุ้มค่าที่สุดคือการให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหายาเสพติด (CommunityBasedTreatmentand Care: CBTX) ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษาโดยมีส่วนร่วมของชุมชนมีอัตราการเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือห้องฉุกเฉิน หรือประวัติทางอาชญากรรมลดลง และยังมีทางเลือกที่เหมาะสม อาทิ การลดอันตรายจากสารเสพติด การป้องกันและแก้ไขผู้ที่มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติดเพิ่ม การเข้าถึงบริการระบบสาธารณสุขให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และการเตรียมการรองรับประมวลกฎหมายยาเสพติดเพื่อเป้าหมายคือผู้เสพผู้ติดยาเสพติดได้รับการบำบัดรักษา ลดอันตรายจากยาเสพติด สามารถกลับสู่สังคมไปใช้ชีวิตในสังคมตามปกติได้ จากสถิติผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปรางที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติด ปี 2566 จำนวน 4 ราย และ ปี 2567 จำนวน 3 ราย และยังมีผู้ป่วยติดสารเสพติดในพื้นที่อีกมากที่ยังไม่ได้รับการบำบัดรักษา และยังไม่มีอาการทางจิตเวช และหลังจากที่ผู้ป่วยได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาเพื่อป้องกันการกลับไปเสพสารเสพติดซ้ำ ซึ่งจะเห็นว่าผู้ที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับเสพซ้ำอีกเป็นจำนวนมาก การใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการบำบัดถือว่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมกับประชาชนหรือกลุ่มบุคคลซึ่งต้องเข้ามาร่วมกันดำเนินการในการบำบัดฟื้นฟูทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจปฎิบัติการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์และการประเมิลผล การดูแลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดในชุมชนเป็นการบำบัดแบบหนึ่งที่ให้บริการในชุมชน ทำให้เข้าถึงครอบครัวของผู้ใช้สารเสพติดและสมารถนำทรัพยากรรวมถึงนำความรู้ที่มีในชุมชนมาร่วมในการบำบัดฟื้นฟูได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง กองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการประชุมเชิงปฎิบัติการการสร้างการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติดในชุมชน ฟื้นฟูสมรรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติด เน้นชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้โอกาสผู้เสพยาเสพติดและมีความผิดปกติทางจิตเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาอย่างมีมาตรฐานและเหมาะสม สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

50.00 2.00
2 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

12.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,100.00 0 0.00
1 มี.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 สกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับพฤติกรรม ที่เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ 0 18,600.00 -
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 ลดความรุนแรงและลดผลกระทบของการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชน 0 0.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 เฝ้าระวังติดตามอย่างต่อเนื่อง 0 3,500.00 -
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติดและลดอัตราการเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน อายุ 15 - 25 ปี ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2568 00:00 น.