โครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กนักเรียนเทศบาลตำบลปริก ปี ๒
ชื่อโครงการ | โครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กนักเรียนเทศบาลตำบลปริก ปี ๒ |
รหัสโครงการ | 68 – L7889 -02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนเทศบาลตำบลปริก |
วันที่อนุมัติ | 6 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 50,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางศิวพร ยืนชนม์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลตำบลปริก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงเรียนเทศบาล ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 64 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
อาหารมีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับเด็กวัยนี้ ดังนั้น ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง ๕ หมู่ ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหารจะมีผลกระทบ ต่อเด็กได้ ผลกระทบที่พบประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียน และด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนนั้น พบว่ามี ๓ ปัจจัย ได้แก่ ส่วนบุคคล พฤติกรรม และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม จาก ปึงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗โรงเรียนเทศบาลตำบลปริกได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาภาภาวะโกชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กนักเรียนเทศบาลตำบลปริก ปี ๑ พบว่าจากการสำรวจนักเรียนเพื่อคัดกลุ่มเป้าหมาย ผลปรากฏว่า มีนักเรียนจำนวน๖๘ คน ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการผลปรากฏว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ๖๘ คน มีนักเรียนที่ภาวะโภชนาการสมส่วน จำนวน ๓๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐ ๕๐ และยังมีนักเรียนอีก ๓๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐ ที่ยังมีปัญหาโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ โรงเรียนเทศบาลตำบลปริกจึงได้จัด้จัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กนักเรียนเทศบาลตำบลปรึก ปี ๒ เพื่อให้นักเรียนที่ยังมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อต่อร่างกาย จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนากาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญผู้ปกครองของเด็กนักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการ รับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนด้วย จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัยหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกรฑ์ในเด็กนักเรียนเทศบาลตำบลปริก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้เรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ ได้รับความรู้ในด้านการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : นักเรียนเข้าร่วมเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมร้อยละ 100 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : นักเรียนและผู้ปกครองนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพ และนักเรียนมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อตนเอง |
0.00 | |
2 | เพื่อเปรียบเทียบภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ของผู้เรียน ก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ มีจำนวนลดลง ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ได้รับการประเมินติดตาม ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ร้อยละ 100 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ มีจำนวนลดน้อยลง |
0.00 | |
3 | เพื่อลดจำนวนผู้เรียนที่มีภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์เพิ่มขึ้น ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ ได้รับอาหารเช้าเสริมก่อนเข้าเรียนทุกวัน ร้อยละ 100 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : นักเรียนมีภาวะการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 50,050.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 | จัดอบรม เรื่อง โภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กวัยเรียน ให้ความรู้ ด้านการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย ให้กับผู้ปกครอง และผู้เรียน ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ | 0 | 4,800.00 | - | ||
2 มิ.ย. 68 - 29 ส.ค. 68 | ประเมินติดตามชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงของผู้เรียนที่มีภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ ทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง | 0 | 250.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 29 ส.ค. 68 | จัดอาหารเช้าเสริมก่อนเข้าเรียน ให้กับผู้เรียน ที่มีภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ช่วงชั้นอนุบาล และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 60 คน ทุกวัน | 0 | 45,000.00 | - |
ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ มีความรู้ในด้านการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย
นักเรียนได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2568 09:04 น.