โครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเข้มข้น
ชื่อโครงการ | โครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเข้มข้น |
รหัสโครงการ | 68-L1504-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนานิน |
วันที่อนุมัติ | 17 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2568 - 29 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 23,190.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสมภพ ทับเที่ยง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.404,99.626place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย เพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิตและศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งเศรษฐกิจและสังคม อย่างต่อเนื่องและรุนแรง จะเห็นได้ว่าคนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวาน 4.8 ล้านคน หรือ 1 ใน 11 คน ป่วยเป็นโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 9.8 มีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 1 แสนคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ ร้อยละ 40.0 ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย ขณะที่ผู้ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษามีเพียงร้อยละ 54.1 หรือเพียง 2.6 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีเพียง 1 ใน 3 คน ที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการรักษา ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในประเทศไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าความชุกของโรคเบาหวานจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3 ล้านคน ภายในปี 2583 และเป็นปัญหาที่กำลังมีความรุนแรงมากขึ้น
ในปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานในเขตอำเภอย่านตาขาว จำนวน 3,667 ราย ควบคุมระดับน้ำตาลได้ 1,186 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.34 และจากการคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรอายุมากกว่า 35 ปี
ร้อยละ 96.15 พบโรคเบาหวานรายใหม่ 334 ราย คิดเป็น 520.27 ต่อแสนประชากรโรคเบาหวานจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ไตวาย การถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น ปัญหาของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมันและหวาน สาเหตุคือ ความเคยชิน ต้องประกอบอาชีพนอกบ้านไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเอง จึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูป รวมถึงขาดการออกกำลังกายและไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
ในปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนานิน จำนวน 264 ราย ควบคุมระดับน้ำตาลได้ 89 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.71 และจากการคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรอายุมากกว่า 35 ปี ร้อยละ 95.73 พบโรคเบาหวานรายใหม่ 26 ราย คิดเป็น 473.59 ต่อแสนประชากร ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนานิน มีความประสงค์ให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อให้สามารถเข้าสู่ระยะสงบของโรคได้ (remission) โดยใช้เทคนิคการสื่อสาร (Communication skill) การเสริมสร้างพลังใจ (Empowerment) การให้ความรู้และตั้งเป้าหมายร่วมกัน (Sharing care plan) บูรณาการร่วมกับหลักสุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้จัดโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเข้มข้นขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถเข้าสู่ระยะสงบของโรคได้โดย ไม่แสดงอาการ และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในค่าปกติและคงอยู่อย่างน้อย 3 เดือน โดยไม่ต้องใช้ยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถเข้าสู่ระยะสงบของโรคได้โดย ไม่แสดงอาการ และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในค่าปกติและคงอยู่อย่างน้อย 3 เดือน โดยไม่ต้องใช้ยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถดูแลตนเองเพื่อให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2568 14:27 น.