โครงการส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุโรงพยาบาลควนกาหลง จังหวัดสตูล ปี2568 (ประเภทที่ 1)
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุโรงพยาบาลควนกาหลง จังหวัดสตูล ปี2568 (ประเภทที่ 1) |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลควนกาหลง |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 34,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนันทิกานต์ อุบล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.953,100.03place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากจำนวนคนเกิดลดลง และคนมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในนโยบายด้านประชากรและการวางแผน ครอบครัว ผนวกกับภาวะเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ((สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2567) ทำให้อัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์ สาธารณสุข และเทคโนโลยี ทำให้ประชากร มีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือประชากรอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากร ทั่วประเทศ (หรือประชากรอายุ 65 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 14) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ ทำให้ต้องมีการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น การจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัด การปรับปรุงระบบเกษียณอายุราชการ การจัดสรรสวัสดิการที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ การเตรียมระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเพื่อผู้สูงอายุ และการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) หรือแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อม การสร้างอาคารสถานที่ และสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้ทุกคนที่อยู่ในสังคมโดยเฉพาะผู้สูงอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (WHO, 2024)
โดยกรมอนามัย (พ.ศ.2567) พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพด้วยโรคความดันโลหิตสูง 43.25% โรคเบาหวาน 20.45% และโรคซึมเศร้า 2.08% ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่า 92.27% ได้รับการดูแลรักษา แต่ก็มีผู้สูงอายุมากถึง 42.31% ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และ 39.42% ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ที่ผู้สูงอายุไทยปฏิบัติตัวได้น้อยที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 15-30 นาทีเป็นประจำ (52.16%) ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้วเป็นประจำ (62.40%) รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ (62.52%) ไม่ดื่มสุรา/เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (83.29%) และไม่สูบบุหรี่ (88.31.%) ส่งผลให้ผู้สูงอายุไทยมีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญคือ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ซึ่งพบความชุก สูงถึง 42.74% ในเพศชาย และ 44.35% ในเพศหญิง โดยปัจจัยป้องกันที่สำคัญ ได้แก่ การออกกำลังกายเป็นประจำและการกินอาหารที่เหมาะสม นอกจากนั้นการสำรวจของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (พ.ศ.2567) พบว่าผู้สูงอายุยังมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกาย (51.08%) ด้านการมองเห็น (22.45%) และด้านจิตใจ (4.83%)
จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตอำเภอควนกาหลง ในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 5,311 คน เป็นเพศชาย 2,451 คน เพศหญิง 2,860 คน พบผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพ ป่วยเป็นโรคเรื้อรังและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลควนกาหลง จำนวน 1,638 คน เมื่อสุ่มสำรวจผู้สูงอายุจำนวน 403 คน พบว่า ร้อยละ 62.03 เป็นผู้สูงอายุติดสังคม สามารถทำกิจกรรมชีวิตประจำวันได้ ร้อยละ 21.59 ติดบ้าน และร้อยละ 2.98 ติดเตียง ดังนั้น โรงพยาบาลควนกาหลงจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรงพยาบาลควนกาหลง ปี 2568 ขึ้น เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปปฏิบัติดูแลสุขภาพเบื้องต้น อีกทั้งกระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายเป็นเพื่อให้มีพฤติกรรมต่อเนื่องเป็นนิสัย เกิดความยั่งยืนส่งผลให้มีสุขภาพกายและจิตที่แข็งแรงต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. ผู้สูงอายุในเขต หมู่ 3,4 และ 7 ตำบลควนกาหลง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกายและจิต 2. ผู้สูงอายุในเขต หมู่ 3,4 และ 7 ตำบลควนกาหลง มีความรู้ ความเข้าใจในการออกกำลังกาย 3. ผู้สูงอายุในเขต หมู่ 3,4 และ 7 ตำบลควนกาหลง ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ได้รับการส่งต่อไปรับการรักษา 1 ผู้สูงอายุในเขต หมู่ 3,4 และ 7 ตำบลควนกาหลง ที่เข้าร่วมทำแบบประเมินผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ขึ้นไป 2. ผู้สูงอายุในเขต หมู่ 3,4 และ 7 ตำบลควนกาหลง ที่เข้าร่วมสามารถออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 80 ขึ้นไป 3. ผู้สูงอายุในเขต หมู่ 3,4 และ 7 ตำบลควนกาหลง ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพได้รับการส่งต่อไปรักษา ร้อยละ 100 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. ผู้สูงอายุในเขต หมู่ 3,4 และ 7 ตำบลควนกาหลง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกายและจิต 2. ผู้สูงอายุในเขต หมู่ 3,4 และ 7 ตำบลควนกาหลง มีความรู้ ความเข้าใจในการออกกำลังกาย 3. ผู้สูงอายุในเขต หมู่ 3,4 และ 7 ตำบลควนกาหลง ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ได้รับการส่งต่อไปรับการรักษา |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
3 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1.จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้สูงอายุในเขต หมู่ 3,4 และ 7 ตำบลควนกาหลง | 50.00 | 34,050.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2568 15:06 น.