โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กินดี เล่นได้ สูงใหญ่ ไอคิวดี
ชื่อโครงการ | โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กินดี เล่นได้ สูงใหญ่ ไอคิวดี |
รหัสโครงการ | 68-L1504-3-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองปะเหลียน |
วันที่อนุมัติ | 17 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,727.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางขวัญใจ เกลี้ยงสงค์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.404,99.626place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 18 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เด็กมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการดูแลจากครอบครัวและสังคม การวางรากฐานที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย จึงเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ เด็กช่วงปฐมวัย ( 0-5 ปี ) เป็นระยะที่สำคัญของชีวิต เนื่องจากเป็นวัยที่มีพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ด้าน จากบิดามารดาและผู้คนรอบข้าง รวมไปถึง สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กด้วย ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ จะส่งผลต่อการพัฒนาจิตใจและความคิดของเด็ก หล่อหลอมให้เกิดเป็นบุคลิกภาพและอุปนิสัยของเด็กเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ครอบครัว สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงผู้เลี้ยงดู จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อเด็กในช่วงวัยนี้
การจัดการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาประเทศเพราะการให้การศึกษาเป็นการพัฒนาคน ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญให้มีคุณภาพ จุดมุ่งหมายและหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ในการพัฒนาและเพิ่มพลังสมองของเด็กในวัยเรียนช่วงอายุ 2-5 ปี จำเป็นต้องมีสื่อที่เป็นอุปกรณ์ในการพัฒนาทักษะทางด้านกล้ามเนื้อและการพัฒนาสมองของนักเรียนวัยนี้ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็กปฐมวัยอีกด้วยตามหลักจิตวิทยาและหลักวิชาการอื่น ๆ เด็กจะพัฒนาได้เต็มศักยภาพ ซึ่งการพัฒนาทางด้านร่างกาย เครื่องเล่นสนาม ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการทั้งในด้านร่างกาย กล้ามเนื้อ จิตใจและสมองของเด็กให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก รู้จักการเข้าสังคม มีระเบียบวินัย มีความเป็นตัวของตัวเองและรู้จักการแบ่งปัน มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาทางด้านสมองของเด็ก ซึ่งเด็กจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างสมดุลทุกด้านไปพร้อมๆ กัน ฉะนั้นการมีเครื่องเล่นสนามที่เหมาะสม มั่นคง และปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการช่วยส่งเสริมให้เด็กเติบโตได้เต็มศักยภาพทุกด้านกรมอนามัยจะเร่งรัดส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่การจัดโรคอ้วน เตี้ยในเด็กไทยยุควิถีชีวิตใหม่ ภายใต้โครงการ “กระโดด โลดเต้น เล่นเปลี่ยนร่าง” มุ่งเน้นให้เด็ก”กระโดด โลดเต้น และเล่น ด้วยความสนุกสนาน” ในหลากหลายบริบท ทั้งที่บ้าน โรงเรียนและชุมชน จนรู้สึกเหนื่อยหรือหอบ อย่างน้อยวันละ 60 นาทีทุกวัน โดยกิจกรรมที่ทำนอกจากเป็นกิจกรรมแบบแอโรบิกทั่วไปแล้ว ควรเป็นกิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่อข้อต่อร่วมอยู่ด้วย รวมทั้งควรฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อควบคู่ไปด้วย อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และยืดกล้ามเนื้อทุกวัน “การกระโดด โลดเต้น เล่นสนุก” เพื่อการเจริญเติบโต ต้องทำให้หนักพอที่จะให้กล้ามเนื้ออ่อนเพลียหรือล้า แต่ต้องไม่มากเกินไปจนเกิดการบาดเจ็บ เพราะจะทำให้โปรตีนและฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต (Human Growth Hormone : HGH) ถูกดึงไปใช้สำหรับการซ่อมแซมแทนที่จะนำใช้สำหรับการเจริญเติบโต รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าว ดังนั้น จำเป็นต้องมีความเข้าใจและสนับสนุน ส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสที่จะได้ “เล่น” เพราะการเล่นถือเป็นหัวใจของการเรียนรู้ในช่วงของเด็กปฐมวัย คือ การสร้างทักษะเพื่อให้เด็กได้เติบโตอย่างเป็นธรรมชาติตามจังหวะของตนเอง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองปะเหลียน มีเด็กเล็กที่อยู่ในความดูแลจำนวน 12 คน พัฒนาการสมวัย จำนวน 12 คน พัฒนาการสงสัยล่าช้า – เด็กมีภาวะเตี้ย 2 คน คิดเป็นร้อยละ 16.66 เด็กมีภาวะอ้วน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 16.66 เด็กมีภาวะผอม - คน คิดเป็นร้อยละ - จึงจัดโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองปะเหลียน กินดี เล่นได้ สูงใหญ่ ไอคิวดี เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการเด็กปฐมวัยขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามภาวะทางโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัย
|
||
2 | เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ติดตามภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัย
|
||
3 | ครู ผู้ดูแลเด็กจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.เด็กปฐมวัย ได้รับการส่งเสริมให้มีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัยทั้ง 4 ด้าน 2.เด็กปฐมวัย ได้รับการเฝ้าระวังติดตามด้านภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัย 3.เด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่ตามเกณฑ์และเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการติดตาม กระตุ้นและประเมินให้มีภาวะโภชนการปกติและมีพัฒนาการสมวัย 4.พ่อ แม่ ผู้ปกครองที่เข้ารับการอบรม ได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและพัฒนาการที่สมวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2568 10:52 น.