โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-L1504-5-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เทศบาลตำบลทุ่งกระบือ |
วันที่อนุมัติ | 17 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 60,848.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางรินทร์ฤดี ไวศยะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.404,99.626place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาต่อสุขภาพที่สำคัญของการสาธารณสุข สามารถพบผู้ป่วยไข้ด้วยโรคไข้เลือดออกในทุกกลุ่มอายุและมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการควบคุมจำนวนลูกน้ำยุงลาย โดยการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี
จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 53 ราย และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ถึงเดือนมกราคม 2568) พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 11 ราย ซึ่งพบว่าอาจจะมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ด้วยวิธีทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ การใส่สารเคมีกำจัดลูกน้ำ การฉีดพ่นหมอกควัน ก็ยังพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง และยังพบว่าประชาชนในชุมชนยังไม่ให้ความสำคัญกับการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ไม่มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและรอบบริเวณบ้านตนเอง ไม่มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อม เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรืออาสาสมัครสาธารณสุขที่จะต้องไปทำ ขาดความร่วมมือจากชุมชน
ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทุ่งกระบือ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลายทั้ง 9 หมู่บ้าน และเน้นให้มีการดำเนินงานให้มีความครอบคลุมจะส่งผลให้การควบคุมลูกน้ำยุงลายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้สามารถลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกลงได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในประชาชนพื้นที่
|
||
2 | เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในพื้นที่
|
||
3 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
|
||
4 | เพื่อสร้างความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำยุงลายในชุมชน ได้แก่บ้าน ศาสนสถาน โรงเรียน
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องยั่งยืน 2. ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ 3. สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้ 4. ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2568 10:56 น.