โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 (ประเภทที่ 2)
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 (ประเภทที่ 2) |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 54,910.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสหัส ซุ้ยขาว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.953,100.03place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 300 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยยุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในช่วงนี้เริ่มน่าเป็นห่วง พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี มากกว่าปีที่ผ่านมา ในปี ๒๕๖๗ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้ว ๘,๑๙๗ ราย มากกว่าปี ๒๕๖๖ ถึง ๑.๙ เท่า (๔,๒๘๖ ราย) และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สรุปภาพรวม (กรกฎาคม ๒๕๖๗) จำนวนผู้ป่วย ๔๗,๕๒๗ ราย มากที่สุดตามลำดับ คือ ภาคเหนือ ภาคกลางไม่รวมกทม. ภาคใต้ กทม และภาคอีสาน ตาย สะสม ๔๔ ราย (อัตราป่วย ๐.๐๘) มากที่สุดตามลำดับ คือ ภาคกลาง (ไม่รวมกทม.) ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ และ กทม. เป็น ชาย ๒๕ ราย หญิง ๑๙ ราย และพบทุกช่วงอายุ (ตั้งแต่ ๐-๔ ปี จนถึง ๖๕ ปีขึ้นไป) ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้น และซักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
พื้นที่เขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา ปี ๒๕๖๗ พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ๒๕ คน เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖๖ ๒ คน การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อ และการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความรวมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออก และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน มัสยิด โรงเรียน ตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกกำลัง ความคิด ความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลแก้ไขปัญหาของชุมชน ในการดูแล ป้องกันควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชน ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และภาชนะเสี่ยงในชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิด และวัด ที่เป็นแหล่งโรค ๑. ประชาชนมีความพึงพอใจ มีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ส่งผลให้พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตรพ.สต.บ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า ลดลงร้อยละ ๒๐ จากปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ๒. ทำให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และลูกน้ำยุงลาย ลดลง ได้ค่า HI < 10 จากการสุ่มตรวจ 50% |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลแก้ไขปัญหาของชุมชน ในการดูแล ป้องกันควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชน ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และภาชนะเสี่ยงในชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิด และวัด ที่เป็นแหล่งโรค |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมอบรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และกิจกรรม เดินรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย | 300.00 | 54,910.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
๒. ประชาชนมีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2568 14:48 น.