โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันเด็กจมน้ำ (ประเภทที่ 2)
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันเด็กจมน้ำ (ประเภทที่ 2) |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนอนุบาลควนกาหลง |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 19,982.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมนตรี จรียานุวัฒน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.953,100.03place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การจมน้ำเป็นสาเหตุอันดับต้นของการเสียชีวิตในเด็กไทย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สถานการณ์ดังกล่าว
มักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น บ่อน้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำชุมชน ซึ่งเด็กมักขาดความรู้ ความระมัดระวัง และการดูแลอย่างเพียงพอจากผู้ปกครอง นอกจากนี้ ทักษะการเอาตัวรอดในน้ำยังไม่ถูกสอนอย่างแพร่หลายในโรงเรียนและชุมชน ส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กยังคงสูง จากตัวเลขสถิติการเสียชีวิตที่ไม่น้อยทำให้ "การจมน้ำ" จึงถูกองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเป็นหนึ่งในภัยเร่งด่วนต่อสุขภาพของสาธารณชน โดยในทางปฏิบัติ WHO และประเทศสมาชิกทั่วโลก ต่างพยายามสร้างความตระหนักและส่งเสริมการดำเนินงานขับเคลื่อนที่สอดประสานกันเพื่อป้องกันภัยจากการจมน้ำร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง ในปีหนึ่ง ๆ ทั่วโลก ต้องสูญเสียชีวิตผู้คนไปกว่า 3 แสนคน จากอุบัติเหตุจมน้ำ โดยกว่าร้อยละ 90
ขณะที่ในประเทศไทย "การจมน้ำ" เป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเป็นอันดับ 1 ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี กระทรวงสาธารณสุข พบว่าทุก ๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุก ๆ 1 เดือนประเทศไทยสูญเสียเด็กจากการ
จมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551-2561) ประเทศไทยสูญเสียเด็กไปแล้วถึง 11,323 คน
ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่กระทบต่อคุณภาพ ดังนั้นความรู้ในการป้องกันตนเอง การช่วยฟื้นคืนชีพ รวมทั้งทักษะในการช่วย
ชีวิต โดยใช้หลักการตะโกน โยน ยื่น พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากพื้นที่เสี่ยงต่อการตกน้ำจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เด็กมีชีวิตรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้
เนื่องด้วยโรงเรียนอนุบาลควนกาหลง ได้มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้เสียชีวิตจากการจมน้ำ และในพื้นที่อำเภอ
ควนกาหลงมีแหล่งน้ำ และพื้นที่เสี่ยงหลายจุด โรงเรียนอนุบาลควนกาหลงได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาการจมน้ำและการ
ช่วยเหลือชีวิตจากการจมน้ำในเด็กวัยเรียน และเป็นการป้องกันก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น จึงได้จัดทำกิจกรรมการป้องกันการจมน้ำ
ประจำปี 256๘ ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 19,982.00 | 0 | 0.00 | 19,982.00 | |
7 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้การป้องกันการจมน้ำในเด็ก | 100 | 19,982.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 100 | 19,982.00 | 0 | 0.00 | 19,982.00 |
- นักเรียนมีทักษะในการช่วยเหลือตนเองและผู้ประสบภัยจากสถานการณ์อันตรายในน้ำได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2568 16:21 น.