กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รู้ไวป้องกันได้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งชมรมสร้างสุขภาพ หมู่ที่ ๑บ้านสวนโหนด
รหัสโครงการ 68-L3368-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมสร้างสุขภาพหมู่ที่ ๑ บ้านสวนโหนด
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจิรา บุญฤทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 74 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มีผู้ป่วยในเขตพื้นที่รับผิดชอบป่วยด้วยโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
6.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็น อันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูกแต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้นดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จ้าเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนดมีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งในพื้นที่บ้านสวนโหนด หมู่ที่ ๑ ตำบลตะแพน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด ในปีงบประมาณ๒๕๖๖และปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจากการเป็นโรคมะเร็งในพื้นที่จำนวน11รายสาเหตุของการเป็นโรคมะเร็งมาจากการบริโภคอาหารปนเปื้อนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งและสาเหตุพันธุกรรมโดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมกลุ่มเป้าหมายไม่ค่อยเล็งเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จะพบก็ต่อเมื่อแสดงอาการเป็นก้อนเนื้อหรือมีการลุกลามเจ็บปวดเด่นชัดในระยะที่ ๓,๔ ซึ่งโอกาสการรักษาหายมีน้อยมากจึงจำเป็นต้องอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง เมื่อมีความผิดปกติในร่างกายจะได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที และการที่จะให้รู้เร็ว รู้ทัน ป้องกันโรคมะเร็งนั้นจำเป็นต้องอบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวให้มีความรู้เพื่อขยายผลให้สุขศึกษาและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายมีความตื่นตัวเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ทางชมรมสร้างสุขภาพ หมู่ที่ ๑บ้านสวนโหนดจึงเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงร่วมมือกับหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องจัดอบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวและผู้สนใจพร้อมคัดกรองกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นการค้นหาโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อแกนนำสุขภาพครอบครัวความรู้และการควบคุมป้องกันโรคมะเร็ง

แกนนำสุขภาพครอบครัวความรู้และการควบคุมป้องกันโรคมะเร็ง ร้อยละ

74.00
2 ข้อที่ ๒.เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญเรื่องโรคมะเร็ง

ประชาชนเห็นความสำคัญเรื่องโรคมะเร็ง ร้อยละ

0.00 90.00
3 ข้อที่ ๓.เพื่อรณรงค์ให้มีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม

รณรงค์ให้มีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ในพื้นที่รับผิดชอบ

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
30 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 อบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพครอบครัว จำนวน ๑ รุ่น 0 9,940.00 -
รวม 0 9,940.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราการป่วยตายจากโรคมะเร็งต่างๆลดลง 2.แกนนำสุขภาพครอบครัวมีความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคมะเร็ง
3.ประชาชนมีความตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านมมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2568 00:00 น.