กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมแบบเฝ้าระวังลูก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ในปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5230-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาพระ
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 90,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบุญสม ไชยสาลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลก และเศรษฐกิจ ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่ม วัยรุ่นวัยเรียนจะพบว่าในกลุ่มวัยรุ่นจะพบปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมส่งผลต่อสุขภาพของมารดาในระหว่าง ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ปัญหาการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นในระหว่างตั้งครรภ์ การใช้ความรุนแรงในครอบครัวทำให้เกิดภาวะสุขภาพจิตและสุขภาพกายของมารดาและส่งต่อทารกในครรภ์ได้ สำหรับกลุ่มหญิงครรภ์ทั่วไปยังมีปัญหาในการมาฝากครรภ์ล่าช้า มีภาวะครรภ์เสี่ยง ไม่มาฝากครรภ์ตามนัด ซึ่งจะมีผลต่อ สุขภาพของมารดา และทารกในครรภ์ญทางเทคโนโลยีทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของการฝากครรภ์ล่าช้า (หลังอายุ 12 สัปดาห์) นอกจากนี้สาเหตุของการฝากครรภ์ล่าช้า คือ วัยรุ่นขาดความรู้ เรื่องการคุมกำเนิด มีรักใน วัยเรียน ส่งผลให้แม่ในช่วงอายุ 13 - 19 ปีมีมากขึ้น มักผิดปกติจากการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมเพิ่มขึ้น ส่วนแม่ตั้งครรภ์ในปัจจุบัน มักจะไม่เห็นความสำคัญของการฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ จากการขาดความรู้ ขาดการตระหนัก ทำให้ไม่ได้รับการดูแลก่อนคลอดที่เหมาะสม ทารกในครรภ์ไม่ได้รับการ ส่งเสริมสุขภาพทำให้เด็กที่คลอดออกมาสุขภาพไม่สมบูรณ์น้ำหนักน้อย พัฒนาการไม่สมวัยได้ เมื่อตั้งครรภ์แล้วต้องรีบมาฝากครรภ์ ตรวจเลือดหาภาวะซีด หรือโรคติดต่อต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทั้งหญิง ตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ มารับคำแนะนำด้านโภชนาการ และการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง โดยเตรียมทารกให้คลอดอย่างปลอดภัย เติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดีมีคุณภาพ ไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ สังคมของประเทศในอนาคต จากข้อมูลการให้บริการฝากครรภ์ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ในปี 2567 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาพระประเมินผลจากหญิงมีครรภ์ที่คลอดแล้วจำนวน 72 รายจากหญิงมีครรภ์ที่รับบริการฝากครรภ์ทั้งหมด จำนวน 102 ราย มีการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 95.83 (เกณฑ์ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75) ซึ่ง มีอีก 3 ราย ที่ไม่มาฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มแรก ทำให้มารดาได้รับการดูแลล่าช้า อาจส่งผลต่อสุขภาพลูกน้อยในครรภ์ และมีการฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ จำนวน 45 คน จากหญิงคลอดทั้งหมด 67 คน คิดเป็นร้อยละ 67.16 (เกณฑ์ร้อยละ55) โดยอีก 22 ราย ไม่ได้รับการ ดูแลครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ โดยในบางรายมีการคลอดก่อนกำหนด จึงทำให้ไม่สามารถฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ได้ แต่บางรายไม่มาฝากครรภ์ตามที่ได้นัดไว้ ซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป และทารกคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 14.77 (จากคลอดทั้งหมดในเขตรับผิดชอบ 88 คน) (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ7) ซึ่งทารกและหญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมติดตามทุกรายคิดเป็นร้อยละ100 และอัตราการคลอดของมารดาวัยรุ่น 15 - 19 ปี (หญิงวัยรุ่น 15 - 19 ปี ทั้งหมด 356 คน) คือ 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.28 หญิงตั้งครรภ์ด้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนร้อยละ 97.03 ,หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง 30 ราย จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 102 คิดเป็นร้อยละ 29.41 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 13). จากข้อมูลข้างต้นพบว่า ยังคงเป็นปัญหาที่จะต้องดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขอย่างต่อเนื่องเพื่อให้หญิงมีครรภ์มีสุขภาพดีส่งผลแม่เกิดรอดลูกปลอดภัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาพระ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมแบบเฝ้าระวังลูก เพื่อ ดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ปีงบ 2568 เพื่อแก้ไขปัญหาลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ และให้หญิงมีครรภ์มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติส่งผลให้ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน (มากกว่า 2500กรัม) จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องขับเคลื่อนกลุ่มเป้าหมายให้เข้าถึงบริการงานอนามัยแม่และเด็กให้ครอบคลุมมากที่สุด ในทุกรูปแบบเพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยโดยประชาสัมพันธ์ "ตั้งครรภ์เมื่อพร้อม ลดภาวะเสี่ยง ทั้งแม่และลูก" และให้ภาคีเครือข่ายภาคประชาชน อสม.มีส่วนร่วมกระตุ้นติดตามให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ โดยหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงภาวะซีดและภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ให้ได้รับการสนับสนุนอาหารเสริมเพื่อบำรุงสุขภาพแม่และส่งผลให้ลูกเกิดมามีน้ำหนักแรกเกิดตามเกณฑ์ตลอดจนให้คู่สมรสมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ในขณะตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด ตลอดการเลี้ยงดูลูกในช่วงปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัยได้อย่างถูกต้อง จนส่งผลให้แม่และลูกมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง 1.1 แก้ไขปัญหา/พัฒนาต่อยอดระบบบริการสุขภาพชุมชนภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ยุทธศาสตร์ที่ 1. การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ /แผนงานที่ 1 พัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย/โครงการที่ 1 พัฒนาศักยภาพคนไทย / กิจกรรมการพัฒนาอนามัยและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะแม่และเด็ก 1.2 บริบทของการดำเนินงานสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปีงบประมาณ2567 (หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 102 ราย) - อัตราฝากครรภ์ล่าช้า(เกินกว่า 12 wks) ร้อยละ 04.17 - อัตราเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 29.41 - ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 14.77 - การตั้งครรภ์ไม่พร้อม ร้อยละ 03.54 - ภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ ค่าBMI < 18.5 ร้อยละ 14.77

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 90,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 สนับสนุนอาหารเสริม (นมสูตรสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร) หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ทุกรายจำนวน 2 มื้อ/วัน ระยะเวลา 60 วัน 0 90,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มารดาและทารกที่มีภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพได้รับการแก้ไขปัญหาและดูแลครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน 2 แก้ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ให้หมดไป 3 ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ 4 ครอบครัวมีองค์ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและปัญญา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2568 00:00 น.