โครงการพิชิตยุงร้ายทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ป้องกันโรคไข้เลือดออกปี 2568(รพ.สต.บ้านกูบู)
ชื่อโครงการ | โครงการพิชิตยุงร้ายทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ป้องกันโรคไข้เลือดออกปี 2568(รพ.สต.บ้านกูบู) |
รหัสโครงการ | 68-L2486-2-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่ม อสม. รพ.สต.บ้านกูบู |
วันที่อนุมัติ | 14 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 15 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 24,490.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางรีซาน มะมิง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 1472 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่นับวันจะมีความรุนแรงและมีอัตราป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ ในจำนวนผู้ป่วยเหล่านั้นส่วนหนึ่งก็เสียชีวิตซึ่งถือว่าเป็นโรคระบาดที่อันตราย ในอดีตโรคไข้เลือดออกมักจะเป็นเฉพาะในกลุ่มเด็กเท่านั้น แต่ในปัจจุบันพบในทุกกลุ่มอายุและเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขในระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตาย การป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย,ชมชน, สังคมและประเทศชาติตามลำดับ หากมีการตรวจ วินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อยในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5 – 9 ปี แต่ปัจจุบันมักพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุและโรคไข้เลือดออกนี้ มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญและในช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ของทุกปีจะเป็นช่วงฤดูฝนมียุงลายชุกชุม และเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคมาก แต่แนวโน้มจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีโอกาสที่จะเพิ่มจำนวนมาก และจะมากขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่มีการดำเนินการควบคุมและป้องกันที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่องการดำเนินงานด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชน องค์กรส่วนท้องถิ่นองค์กรชุมชนต่าง ๆ จึงจะประสบความสำเร็จการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกก็เช่นเดียวกันหากประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ในเรื่องโรคไข้เลือดออกการป้องกันควบคุมโรคที่ถูกต้องความตระหนักในอันตรายของโรคมีการดำเนินการที่ต่อเนื่องสามารถดูแลครัวเรือนของตนเองได้โรคไข้เลือดออกก็จะมีอัตราป่วยและอัตราป่วยตายที่ลดลง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ 5 บ้านเกาะสวาด หมู่ 6 บ้านกูบู หมู่ 7 บ้านโคกยามู หมู่ 8 บ้านสะปอม และหมู่ 10 บ้านบึงฉลามเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกทุกประเภทมีแนวโน้มการระบาดของโรค ปีเว้น 1 ปี โดยปีที่มีการระบาดสูงสุดในรอบ 10 ปี คือ ปี 2565 พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตรา 46.51 ต่อแสนประชากร ซึ่งเป็นปีที่เป็นรอบของการระบาด และในปี 2566 เป็นรอบของการระบาด พบผู้ป่วยจำนวน 10 ราย คิดเป็นอัตรา 173.22 ต่อแสนประชากร ปี 2567 พบผู้ป่วย จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตรา 62.29 ต่อแสนประชากร(อัตราป่วยเกิน 50 ต่อแสนประชากร)ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้เห็นความสำคัญถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก 1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 2.มีกิจกรรมสำรวจลูกน้ำทุกบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง/หมู่ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 เม.ย. 68 - 15 ก.ย. 68 | 1.กิจกรรมสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย | 24,490.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
- ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2568 00:00 น.