โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้เรียนมีความสุข
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้เรียนมีความสุข |
รหัสโครงการ | 68-L2480-2-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนราชประสงค์ |
วันที่อนุมัติ | 24 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 9,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอัสฮาร์ อัสมะแอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 6 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัยการให้ความรู้ด้านสุขภาพช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปัจจุบัน ความสำคัญของอาหารและหลักโภชนาการที่ดี มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตตามวัยและมีคุณภาพของเด็กนักเรียนในระบบการจัดการศึกษาของประเทศ โดยเฉพาะเด็กนักเรียนซึ่งอยู่ในช่วงที่ร่างกายและสมองด้านการเรียนรู้จะมีพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่ได้เข้าเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและสติปัญญาอันเกิดจากระบวนการที่สารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย หากเด็กนักเรียนได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและมีความรู้ความเข้าใจในหลักการโภชนาการที่ดี ย่อมส่งผลต่อสุขภาวะที่ดีต่อตนเองและครอบครัว สังคมและประเทศชาติ การดูแลเรื่องอาหารที่บริโภค จึงมิได้มุ่งเพียงจัดอาหารที่มีรสดี ปรุงแต่งประณีตและราคาย่อมเยามาบริโภคเท่านั้น แต่ต้องรู้จักเลือกเฟ้นและปรุงแต่งอาหารให้มีคุณค่าสูง ไม่มีโทษต่อร่างกาย และสามารถใช้ประโยชน์ ในการเสริมสร้างอนามัยได้มากที่สุด ดังคำกล่าวที่ว่า“ อาหารคือตัวเรา(You are what you eat) ” ด้วยเหตุนี้โรงเรียนราชประสงค์ มีความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพและการบริโภคอาหารที่ดี จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างสุขภาพ นักเรียนมีความสุขขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้อง รู้จักการการบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ ถูกสุขลักษณะ รู้จักเลือกอาหารในการปรุงอาหารให้ครบห้าหมู่ ตลอดจนนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมและตระหนักในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยนักเรียนให้ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ นักเรียนร้อยละ 80 รักสุขภาพและตระหนักในการ ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยนักเรียนให้ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ |
100.00 | 80.00 |
2 | เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักการโภชนาการที่ดีและรู้จักเลือกวัตถุดิบที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย นักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ดี มีประโยชน์ |
100.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 9,400.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 31 ก.ค. 68 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยให้ปลอดภัยจากโรครัไข้เจ็บ | 0 | 9,400.00 | - |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนมีสุขภาพดีทุกคน 2. นักเรียน ครู และบุคลากร มีความรู้ความเข้าใจในหลักการโภชนาการที่ดีและรู้จักเลือกวัตถุดิบที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2568 00:00 น.