โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อเข้าสู่เบาหวานระยะสงบ (DM Remission) รพ.สต.ทุ่งค่ายประจำปี2568
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อเข้าสู่เบาหวานระยะสงบ (DM Remission) รพ.สต.ทุ่งค่ายประจำปี2568 |
รหัสโครงการ | 68-L-1505-1-8 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย |
วันที่อนุมัติ | 1 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 23,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนันทนา ไกรเทพ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวสัทธรา นาทุ่งนุ้ย |
พื้นที่ดำเนินการ | ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ (STROKE, STEMI) รวมถึงโรคไตวายเรื้อรัง และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ และเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิต ความทุพพลภาพกับผู้ป่วย เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ก่อให้หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ทำให้อัตราการไหลเวียนเลือดในสมองลดลง เกิดสมองขาดเลือด ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น (Buenaflor,2017 อ้างถึงใน พรชัย จูลเมตต์, 2565, น. 22) มีรายงานว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้เพิ่มมากกว่าปกติ 2 - 6 เท่าและในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 40 ตรวจพบ มีโรคเบาหวานร่วมด้วย (kleindorfer, 2021 อ้างถึงใน พรชัย จูลเมตต์, 2565, น. 22) ในปัจจุบันสำหรับการดำเนินงานด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหว พบว่าผู้ป่วยเบาหวายังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างสม่ำเสมอจากการติดตามเจาะเลือดสะสมย้อนหลังของผู้ป่วยทุก3เดือน 4ครั้งใน 1 ปีงบประมาณ 2567 ปรากฏว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรักษาเข้าคลินิกของรพ.สต.ทุ่งค่าย มีจำนวน 125 คนสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีที่สุด จำนวน 15 คนคิดเป็นร้อยละ 12 และควบคุมน้ำตาลได้บ้างไม่ได้บ้าง จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 33.6 และควบคุมไม่ได้เลยจำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 54.4 (จากการติดตามเจาะเลือดผู้ป่วยหาค่าเลือดสะสมย้อนหลัง(HBA1C) ทุก 3 เดือนจำนวน 4ครั้ง ใน 1 ปีงบประมาณ 2567) รพ.สต.ทุ่งค่าย เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและมีความตระหนักในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงเขียนโครงการเพื่อของบกองทุนตำบล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาดำเนินนการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเข้าสู่เบาหวานระยะสงบ (DM Remission)โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เน้น3อ2ส.เป็นหลักและการติดตามประเมินความก้าวหน้าของโรคเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาในอนาคตข้างหน้า
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ร้อยละ 100 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการปรับพฤติกรรมสุขภาพโดยปรับลักษณะการรับประทานอาหารแบบลดแคลลอรี่ 2:1:1 ผู้ป่วยรู้จักการรับประทานอาหารแบบแลกเปลี่ยน ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ทำแบบทดสอบได้คะแนนร้อยละ 100 |
0.00 | |
3 | ผู้ป่วยเบาหวานลดการใช้ยา มีค่าน้ำตาลสะสม HB1C ต่ำกว่า 6.5 ต่อเนื่อง เกิด DM remission 3.1 ร้อยละ 100 ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าอบรม สามารถลดการใช้ยาโรคเบาหวานได้ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 23,650.00 | 0 | 0.00 | 23,650.00 | |
1 พ.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | เจาะน้ำตาลในเลือดที่บ้าน สัปดาห์ละ3 วัน วันละ 2 ครั้ง(วันจันทร์,พุธ,ศุกร์) ก่อนอาหารเช้า และหลังอาหารเช้า 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 3 เดือน | 0 | 12,200.00 | - | - | ||
23 พ.ค. 68 | ให้ความรู้ในการปรับพฤติกรรมตามแนวทางการสร้างสุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง | 0 | 11,450.00 | - | - | ||
19 มิ.ย. 68 - 20 ส.ค. 68 | ติดตามประเมินผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการในการปรับพฤติกรรมหลังรับการอบรมและเป็นผู้ป่วยที่มีแนวโน้มสามารถหยุดยาเบาหวานได้จำนวน 4 ราย | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 - 31 ส.ค. 68 | เจาะ HbA1C ในระยะ 3 เดือน และ 6 เดือนหลังเข้าร่วมโครงการ ประเมินผลตรวจสุขภาพหลังอบรม 3 เดือน และ 6 เดือน | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 23,650.00 | 0 | 0.00 | 23,650.00 |
- ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวานร้อยละ 100
- ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ไม่เกิน 110 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น) ร้อยละ100
- ผลการเจาะน้ำตาลสะสมในเลือด(ค่า HBA1C ไม่เกิน 6.5) เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6มีค่าน้อยกว่า 7 ร้อยละ100
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2568 06:35 น.