กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อเข้าสู่เบาหวานระยะสงบ (DM Remission) รพ.สต.ทุ่งค่ายประจำปี2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อเข้าสู่เบาหวานระยะสงบ (DM Remission) รพ.สต.ทุ่งค่ายประจำปี2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย

นางสาวสัทธรา นาทุ่งนุ้ย ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ (STROKE, STEMI) รวมถึงโรคไตวายเรื้อรัง และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ และเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิต ความทุพพลภาพกับผู้ป่วย เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ก่อให้หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ทำให้อัตราการไหลเวียนเลือดในสมองลดลง เกิดสมองขาดเลือด ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น (Buenaflor,2017 อ้างถึงใน พรชัย จูลเมตต์, 2565, น. 22) มีรายงานว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้เพิ่มมากกว่าปกติ 2 - 6 เท่าและในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 40 ตรวจพบ มีโรคเบาหวานร่วมด้วย (kleindorfer, 2021 อ้างถึงใน พรชัย จูลเมตต์, 2565, น. 22)
ในปัจจุบันสำหรับการดำเนินงานด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหว พบว่าผู้ป่วยเบาหวายังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างสม่ำเสมอจากการติดตามเจาะเลือดสะสมย้อนหลังของผู้ป่วยทุก3เดือน 4ครั้งใน 1 ปีงบประมาณ 2567 ปรากฏว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรักษาเข้าคลินิกของรพ.สต.ทุ่งค่าย มีจำนวน 125 คนสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีที่สุด จำนวน 15 คนคิดเป็นร้อยละ 12 และควบคุมน้ำตาลได้บ้างไม่ได้บ้าง จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 33.6 และควบคุมไม่ได้เลยจำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 54.4 (จากการติดตามเจาะเลือดผู้ป่วยหาค่าเลือดสะสมย้อนหลัง(HBA1C) ทุก 3 เดือนจำนวน 4ครั้ง ใน 1 ปีงบประมาณ 2567)
รพ.สต.ทุ่งค่าย เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและมีความตระหนักในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงเขียนโครงการเพื่อของบกองทุนตำบล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาดำเนินนการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเข้าสู่เบาหวานระยะสงบ (DM Remission)โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เน้น3อ2ส.เป็นหลักและการติดตามประเมินความก้าวหน้าของโรคเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาในอนาคตข้างหน้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการปรับพฤติกรรมสุขภาพโดยปรับลักษณะการรับประทานอาหารแบบลดแคลลอรี่ 2:1:1 ผู้ป่วยรู้จักการรับประทานอาหารแบบแลกเปลี่ยน

ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ทำแบบทดสอบได้คะแนนร้อยละ 100

0.00
3 ผู้ป่วยเบาหวานลดการใช้ยา มีค่าน้ำตาลสะสม HB1C ต่ำกว่า 6.5 ต่อเนื่อง เกิด DM remission

3.1 ร้อยละ 100 ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าอบรม สามารถลดการใช้ยาโรคเบาหวานได้
3.2 ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าอบรม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ HbA1C < 6.5 เข้าสู่เบาหวานระยะสงบ (DM remission) ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 เดือนโดยไม่ใช้ยา

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้ในการปรับพฤติกรรมตามแนวทางการสร้างสุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ในการปรับพฤติกรรมตามแนวทางการสร้างสุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 คนละๆ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 80 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 2,400 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 2,100 บาท
  4. ค่าจัดทำคู่มือประกอบการอบรม เล่มละ 60 บาท จำนวน 30 เล่ม เป็นเงิน 1,800 บาท
  5. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท
  6. ค่าแฟ้มใส่เอกสารแบบมีกระดุมและเครื่องเขียน จำนวน 30 ชุดๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2568 ถึง 23 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าอบรมความรู้ในการปรับพฤติกรรมตามแนวทางการสร้างสุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง (ใช้เครื่องมือ 3 ส. 3 อ. 1น.) การปรับทัศนคติ ทำ Motivational Interviewing (MI)สร้างเป้าหมาย สร้างแรงจูงใจ เปลี่ยนความเชื่อเบาหวานหายได้โดยการปรับพฤติกรรมการกิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11450.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามประเมินผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการในการปรับพฤติกรรมหลังรับการอบรมและเป็นผู้ป่วยที่มีแนวโน้มสามารถหยุดยาเบาหวานได้จำนวน 4 ราย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการในการปรับพฤติกรรมหลังรับการอบรมและเป็นผู้ป่วยที่มีแนวโน้มสามารถหยุดยาเบาหวานได้จำนวน 4 ราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มิถุนายน 2568 ถึง 20 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการเยี่ยมเพื่อเสริมพลัง เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 ครั้ง เสริมพลังเสริมความรู้ ดังนี้ ครั้งที่ 1 ปรับการกิน อาหารเบาหวานและการนับคาร์ป และโปรตีน
ครั้งที่ 2 หลักการทำ Less Carb Freestyle Fasting: LCFF ครั้งที่ 3 เทคนิค “4 เสาสลายเบาหวาน” ครั้งที่ 4 การทำ SKT สมาธิ ครั้งที่ 5 - การจัดการอารมณ์
- ยาเบาหวาน
- ค่าน้ำตาล - แลกเปลี่ยนเรียนรู้
- พบแพทย์ ทีมสหวิชาชีพ ตอบข้อสงสัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 เจาะน้ำตาลในเลือดที่บ้าน สัปดาห์ละ3 วัน วันละ 2 ครั้ง(วันจันทร์,พุธ,ศุกร์) ก่อนอาหารเช้า และหลังอาหารเช้า 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
เจาะน้ำตาลในเลือดที่บ้าน สัปดาห์ละ3 วัน วันละ 2 ครั้ง(วันจันทร์,พุธ,ศุกร์) ก่อนอาหารเช้า และหลังอาหารเช้า 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. วัสดุอุปกรณ์เจาะเลือดที่บ้าน 1.1 เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 4 เครื่องๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
    1.2 แถบตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 4 กล่องๆละ 1,050 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการเจาะน้ำตาลในเลือดที่บ้าน สัปดาห์ละ  3 วัน วันละ 2 ครั้ง  (วันจันทร์,พุธ,ศุกร์) ก่อนอาหารเช้า และหลังอาหารเช้า 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 4 เจาะ HbA1C ในระยะ 3 เดือน และ 6 เดือนหลังเข้าร่วมโครงการ ประเมินผลตรวจสุขภาพหลังอบรม 3 เดือน และ 6 เดือน

ชื่อกิจกรรม
เจาะ HbA1C ในระยะ 3 เดือน และ 6 เดือนหลังเข้าร่วมโครงการ ประเมินผลตรวจสุขภาพหลังอบรม 3 เดือน และ 6 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการเจาะเลือดตรวจที่ รพ.สต. ในระยะ 3 เดือน และ 6 เดือนหลังเข้าร่วมโครงการ ประเมินผลตรวจสุขภาพหลังอบรม  3 เดือน และ 6 เดือน ส่งตรวจที่โรงพยาบาลย่านตาขาวตามสิทธิฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวานร้อยละ 100
2. ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ไม่เกิน 110 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น) ร้อยละ100
3. ผลการเจาะน้ำตาลสะสมในเลือด(ค่า HBA1C ไม่เกิน 6.5) เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6มีค่าน้อยกว่า 7 ร้อยละ100


>