เต้าหู้โอมเมดเติมสุข เพื่อสุขภาพตามหลักโภชนาการ ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | เต้าหู้โอมเมดเติมสุข เพื่อสุขภาพตามหลักโภชนาการ ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5246 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลท่าโพธิ์ |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 18,755.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายจิระวัฒน์ รัตนชล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.796,100.416place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ที่ทุกคนในทุกช่วงวัยไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือในกลุ่มผู้สูงอายุ ควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ
จากสถิติการเจ็บป่วยของประชากรในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านสองพี่น้อง ตำบลท่าโพธิ์ พบว่า อัตราความเสี่ยงโรคความดัน เบาหวาน และโรคอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นๆ ของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากผลการดำเนินงานคัดกรองในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ของปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายการคัดกรองจำนวน 161 คน พบว่าผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงพบกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 47.20 ผลการคัดกรองโรคเบาหวานพบกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 43.48 กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนพบกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 57.14 ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยจะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่น ๆ ในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและทุกกลุ่มวัยที่มีอยู่ในชุมชน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนในทุกกลุ่มวัยได้ปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก 3 อ 2 ส เช่น ลดอาหารที่รสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลดละเลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านสองพี่น้อง ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยนำการทำเต้าหู้โฮมเมดตามวิถีชุมชนให้ประชาชนได้เรียนรู้ เข้าใจและเลือกทานอาหารที่เหมาะสม ส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่อง การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เหมาะสมกับวัยผ่านสื่อธงโภชนาการ และประโยชน์ของโปรตีนในถั่วเหลือง ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่อง การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เหมาะสมกับวัยผ่านสื่อธงโภชนาการ และประโยชน์ของโปรตีนในถั่วเหลือง |
||
2 | 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ เรื่องประโยชน์จากถั่วเหลือง และวิธีการทำเต้าหู้จากถั่วเหลือง ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ เรื่องประโยชน์จากถั่วเหลือง และวิธีการทำเต้าหู้จากถั่วเหลือง |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมอบรม(10 พ.ค. 2568-10 พ.ค. 2568) | 5,900.00 | |||||||
2 | ฝึกปฏิบัติ(10 พ.ค. 2568-10 พ.ค. 2568) | 12,855.00 | |||||||
รวม | 18,755.00 |
1 กิจกรรมอบรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 35 | 5,900.00 | 1 | 5,900.00 | 0.00 | |
10 พ.ค. 68 | อบรมให้ความรู้ภาคบรรยาย | 35 | 5,900.00 | ✔ | 5,900.00 | 0.00 | |
2 ฝึกปฏิบัติ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 35 | 12,855.00 | 1 | 12,855.00 | 0.00 | |
10 พ.ค. 68 | ฝึกปฏิบัติการส่งเสริมโภชนาการด้วยการทำเต้าหู้โฮมเมดจากถั่วเหลือง | 35 | 12,855.00 | ✔ | 12,855.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 70 | 18,755.00 | 2 | 18,755.00 | 0.00 |
- เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายให้ได้รับความรู้เรื่องการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับช่วงวัย
- เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงประโยชน์ของการนำถั่วเหลืองมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร
- กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้คนในครอบครัว และชุมชนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2568 14:33 น.