กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ร่วมมือ ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ในเขตรพ.สต.บ้านป่าบาก ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3341-02-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อ รพ.สต.บ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 14,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายสมบัติ ช่อคง 2.นายวิเชียร จงรัตน์ 3.นายนิกร บุญยัง 4.นายอิทธิพัทธ์ ทองจันทร์ 5.นายจรัล ชนะรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งแก้ไขและควบคุมโดยเร็ว ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกจะติดต่อจากคนไข้ที่มีเชื้อไข้เลือดออกโดยมียุงลายเป็นพาหะ เมื่อยุงลายไปกัดคนที่มีเชื้อก็จะนำเชื้อไข้เลือดออกไปติดคนอื่นได้โดยไปกัดคนอื่นต่อ และมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่ยังพบได้ในบ้านเรือนประชาชนโดยทั่วไป ประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ยังไม่เห็นความสำคัญของปัญหา และขาดความตระหนักในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก ยังมีรายงานการพบผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกปี โดยเฉพาะในปี 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 26 ราย อัตราป่วย 783.13 ต่อแสนประชากร ในปี 2567มกราคม – กันยายน พบผู้ป่วยจำนวน 9 ราย อัตราป่วย 271.08 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบกับรายงานการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ พบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายบางหมู่บ้านสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ค่า HI>10) ซึ่งการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการทำลายแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลายทั้งในครัวเรือน บริเวณที่พักอาศัยวิธีที่ประชาชนทั่วไปนิยมใช้ที่สุดคือการใช้สารเคมีในการกำจัดยุง เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย ให้ผลรวดเร็วทันใจ แต่การใช้สารเคมีเหล่านี้ หากผู้ใช้ไม่เข้าใจวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็อาจเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้เอง ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมี ผิวหนังอักเสบ รวมทั้งทำให้เกิดอาการหายใจขัดข้อง หรือถ้าอาการรุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพบว่า มีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดยุงได้แล้วยังช่วยลดการใช้สารเคมีแล้วนั้นการใช้สมุนไพรยังมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมีอีกด้วยประกอบกับยุงลายสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดปี ถ้าไม่ดำเนินการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ ก็อาจเกิดการระบาดของโรคได้ตลอดเวลา ด้วยเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว กลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อ รพ.สต.บ้านป่าบากร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบากจึงได้จัดทำโครงการ ร่วมมือ ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ในเขตรพ.สต.บ้านป่าบาก ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้การดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบความสำเร็จยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง ร้อยละ 90
40.00 90.00
2 2.ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนลดลง

.ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนลดลงร้อยละ 80

40.00 80.00
3 ค่า HICI ในพื้นที่มีจำนวนลดลง

ค่า HI CIในพื้นที่ลดลงร้อยละ 80

60.00 80.00
4 เพื่อนำสมุนไพรมาทำสเปรย์และโลชั่นป้องกันโรคไข้เลือดออก ลดอันตรายจากสารเคมี

ประชาชน สามารถแนะนำการใช้สมุนไพรในการป้องกันยุงลายในครัวเรือนได้ ร้อยละ 70

20.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 จัดอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก 0 6,050.00 -
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ออกสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย ในพื้นที่ 0 500.00 -
1 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 สอนการทำสเปรย์กันยุง แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 0 6,950.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน เกี่ยวกับการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน 0 1,250.00 -
รวม 0 14,750.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง ร้อยละ100 2.ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนลดลง ร้อยละ80 3.ค่า HICI ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 4.ประชาชน สามารถแนะนำการใช้สมุนไพรในการป้องกันยุงลายภายในครัวเรือนได้ ร้อยละ 70
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2568 00:00 น.