กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ร่วมมือ ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ในเขตรพ.สต.บ้านป่าบาก ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

กลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อ รพ.สต.บ้านป่าบาก

1.นายสมบัติ ช่อคง
2.นายวิเชียร จงรัตน์
3.นายนิกร บุญยัง
4.นายอิทธิพัทธ์ ทองจันทร์
5.นายจรัล ชนะรัตน์

หมู่ที่ 2 ,6, 9 ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งแก้ไขและควบคุมโดยเร็ว ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกจะติดต่อจากคนไข้ที่มีเชื้อไข้เลือดออกโดยมียุงลายเป็นพาหะ เมื่อยุงลายไปกัดคนที่มีเชื้อก็จะนำเชื้อไข้เลือดออกไปติดคนอื่นได้โดยไปกัดคนอื่นต่อ และมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่ยังพบได้ในบ้านเรือนประชาชนโดยทั่วไป ประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ยังไม่เห็นความสำคัญของปัญหา และขาดความตระหนักในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก ยังมีรายงานการพบผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกปี โดยเฉพาะในปี 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 26 ราย อัตราป่วย 783.13 ต่อแสนประชากร ในปี 2567มกราคม – กันยายน พบผู้ป่วยจำนวน 9 ราย อัตราป่วย 271.08 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบกับรายงานการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ พบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายบางหมู่บ้านสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ค่า HI>10) ซึ่งการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการทำลายแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลายทั้งในครัวเรือน บริเวณที่พักอาศัยวิธีที่ประชาชนทั่วไปนิยมใช้ที่สุดคือการใช้สารเคมีในการกำจัดยุง เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย ให้ผลรวดเร็วทันใจ แต่การใช้สารเคมีเหล่านี้ หากผู้ใช้ไม่เข้าใจวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็อาจเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้เอง ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมี ผิวหนังอักเสบ รวมทั้งทำให้เกิดอาการหายใจขัดข้อง หรือถ้าอาการรุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพบว่า มีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดยุงได้แล้วยังช่วยลดการใช้สารเคมีแล้วนั้นการใช้สมุนไพรยังมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมีอีกด้วยประกอบกับยุงลายสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดปี ถ้าไม่ดำเนินการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ ก็อาจเกิดการระบาดของโรคได้ตลอดเวลา ด้วยเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว กลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อ รพ.สต.บ้านป่าบากร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบากจึงได้จัดทำโครงการ ร่วมมือ ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ในเขตรพ.สต.บ้านป่าบาก ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้การดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบความสำเร็จยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง ร้อยละ 90
40.00 90.00
2 2.ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนลดลง

.ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนลดลงร้อยละ 80

40.00 80.00
3 ค่า HICI ในพื้นที่มีจำนวนลดลง

ค่า HI CIในพื้นที่ลดลงร้อยละ 80

60.00 80.00
4 เพื่อนำสมุนไพรมาทำสเปรย์และโลชั่นป้องกันโรคไข้เลือดออก ลดอันตรายจากสารเคมี

ประชาชน สามารถแนะนำการใช้สมุนไพรในการป้องกันยุงลายในครัวเรือนได้ ร้อยละ 70

20.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก แก่กลุ่มเป้าหมายตามโครงการ จำนวน 50 คน
  1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  3. ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  4. ค่าป้ายโครงการ 1 ป้าย ขนาด 2 เมตร x 3 เมตร เป็นเงิน 600 บาท
  5. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท

(สามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ร้อยละ 80
  2. มีแกนนำชุมชนป้องกันไข้เลือดออก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6050.00

กิจกรรมที่ 2 ออกสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย ในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ออกสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย ในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ออกสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก และ ผู้เข้าร่วมโครงการสลับกันตรวจแต่ละหมู่บ้าน -ค่าน้ำดื่มในการออกสุ่มตรวจพร้อมกำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่า HI CI ในพื้นที่ไม่เกินมาตรฐาน
  • ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายได้ถูกต้องร้อยละ90
  • ประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือในกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน เกี่ยวกับการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน เกี่ยวกับการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน เกี่ยวกับการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน 1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีมาตรการในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  • ผู้เข้าร่วมโครงการ มีบทบาทหน้าที่ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 4 สอนการทำสเปรย์กันยุง แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สอนการทำสเปรย์กันยุง แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สอนการทำสเปรย์กันยุง แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท
2. ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
3. ค่าวัสดุในการจัดทำสเปรย์กันยุงและ ธูปไล่ยุง ฯลฯ เป็นเงิน 4,500 บาท *สามารถถัวเฉลี่ย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน สามารถแนะนำการใช้สมุนไพรในการป้องกันยุงลายในครัวเรือนได้ ร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง ร้อยละ100
2.ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนลดลง ร้อยละ80
3.ค่า HICI ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
4.ประชาชน สามารถแนะนำการใช้สมุนไพรในการป้องกันยุงลายภายในครัวเรือนได้ ร้อยละ 70


>