โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมป้องกันในโรงเรียนประถมศึกษา
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมป้องกันในโรงเรียนประถมศึกษา |
รหัสโครงการ | L3053-68-2-5 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านลานช้างม. 5ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี |
วันที่อนุมัติ | 10 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 10 เมษายน 2568 |
งบประมาณ | 12,380.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายนาเดอร์ อูซิน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงเรียนบ้านลานช้าง ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็ก นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอาย | 1.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็ก นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอโรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค จะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากการตรวจสุขภาพช่องปากจากกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง ในปีงบประมาณ 2567 ช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียน พบว่านักเรียนมีฟันแท้ผุ เหงือกอักเสบซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง ได้ดำเนินการส่งเสริมป้องกันด้านทันตสุขภาพ ตั้งแต่นักเรียนชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6โดยให้การส่งเสริมการป้องกันด้านเคลือบหลุมร่องฟัน อุดฟัน ซึ่งทางโรงพยาบาลให้บริการปีละ 2 ครั้งทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของนักเรียนได้อย่างครอบคลุม และยังคงพบปัญหาด้านทันตสุขภาพในนักเรียน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพฟันที่ดี 2. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพฟันที่ดี และลดปัญหาของการเกิดโรคฟันผุ 3. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
|
1.00 | 1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 12,380.00 | 0 | 0.00 | |
16 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมการให้ความรู้เด็กนักเรียนในการดูแลรักษาฟันและส่งเสริมการมีสุขภาพฟันที่แข็งแรง | 0 | 7,130.00 | - | ||
16 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | การสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี | 0 | 5,250.00 | - |
1.ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่ผ่านการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพฟันที่ดี 2. ร้อยละ 60 นักเรียนมีสุขภาพฟันที่ดี และลดปัญหาของการเกิดโรคฟันผุ 3. ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่ผ่านการอบรมมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2568 11:23 น.