โครงการส่งเสริมสุขภาพ ลดอ้วน ลดโรค ชุมชนทุ่งนุ้ย ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพ ลดอ้วน ลดโรค ชุมชนทุ่งนุ้ย ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5281-2-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลทุ่งนุ้ย |
วันที่อนุมัติ | 26 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 31,970.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | 1.นางนงค์นุช ปานกลาย 2.นายยะโกบ เย็นจิต 3.นายดลมาหนับ จิแอ 4.น.ส.สีตีมารียำ สลาหลง 5.นางเกศินี ผลโสดา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.871,100.144place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศ เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนคนไทย มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้อัตราเสี่ยงและอัตราการเกิดของโรคอ้วนลงพุง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้นซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลการคัดกรองสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบในปี2567 พบว่าประชาชนมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเป็นจำนวนมาก กลุ่มเสี่ยงจำแนกเป็น 1.กลุ่มที่ระดับน้ำตาล/ระดับความดันโลหิต/ระดับไขมัน เริ่มสูงกว่าเกณฑ์ 2.กลุ่มที่มีค่าBMI สูง/ต่ำกว่าเกณฑ์ 3.กลุ่มที่มีรอบเอวสูงกว่าเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3 อ. 2 ส. เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย/เพิ่มพฤติกรรมทางกาย และมีพฤติกรรมด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสม ลดปริมาณหวาน มัน เค็ม เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ ควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะโภชนาการเกิน ลดการสูบบุหรี่ ลดการดื่มสุรา และรู้จักการจัดการอารมณ์ เป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนลงพุง และป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ โดยการนำกระบวนการของคลินิก DPAC มาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว ดังนั้นเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขรพ.สต.ตำบลทุ่งนุ้ย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ ลดอ้วน ลดโรค ชุมชนทุ่งนุ้ย ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย ไปเป็นกลุ่มปกติ และเป็นตัวอย่างในการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพในชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดอ้วน ลดโรค ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 30 ของกลุ่มเสี่ยง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จนเป็นกลุ่มปกติ |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพในชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดอ้วน ลดโรค |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
13 มี.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ลดอ้วน ลดโรค | 70.00 | 10,150.00 | - | ||
13 มี.ค. 68 | กิจกรรมติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยน | 70.00 | 21,820.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ 1.2 ประสานงานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 1.3 เตรียมจัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ เปิดรับสมัคร ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่จะมาเป็นแกนนำเข้าร่วมกิจกรรม
- ขั้นดำเนินการ
2.1 แยกกลุ่มเป้าหมายแต่ละราย เจาะระดับไขมันในเลือดครั้งที่ 1 เพื่อจัดประเภทของกิจกรรมลดอ้วน ลดโรค
2.2 จัดกิจกรรมอบรม ประเมินภาวะสุขภาพ/ทดสอบสมรรถภาพทางกายของกลุ่มเป้าหมาย จัดทำทะเบียนรายบุคคล อบรมให้ความรู้ 3 อ. 2 ส. เน้นการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย สร้างตารางการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารให้เป็นรายสัปดาห์ โดยวิทยากร สร้างแรงจูงใจ/ความตระหนักรู้ ให้องค์ความรู้ สื่อ เอกสาร ตั้งเป้าหมายในการปรับพฤติกรรม (ระยะสั้น 3 เดือน และระยะยาว 6 เดือน) สร้างกลุ่ม line เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายส่งการบ้านในเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
2.3 ติดตามประเมินผลรอบ 3 เดือน ต่อด้วยร่วมกันถอดบทเรียนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ หาปัญหาอุปสรรคและสาเหตุการปรับปรับพฤติกรรมไม่สำเร็จ ตั้งเป้าหมายและอบรมให้ความรู้เพิ่มเติม 2.4 ติดตามประเมินผลรอบ 6 เดือน ประเมินผลก่อนสรุปผลโครงการ ประชุมสรุปผลการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม เสริมแรงและให้กำลังใจ ให้ความรู้ในการต่อยอดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อการดูแลสุขภาพร่างกายตนเองที่ดีต่อไป และเป็นแบบอย่างให้คำแนะนำแก่รุ่นต่อไปได้ - ขั้นสรุปโครงการ 3.1 สรุปผลการดำเนินโครงการ มอบเกียรติบัตรให้กลุ่มเป้าหมายที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ 3.2 จัดตั้งคลินิกไร้พุง (DPAC) เพื่อให้บริการประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจดูแลสุขภาพ โดยมีแกนนำที่อบรมเป็นครูพี่เลี้ยงในแต่ละหมู่เป็นผู้ดูแล 3.3 จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ
- ร้อยละ 30 ของแกนนำสุขภาพมีความรู้ในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย จนก่อให้เกิดเป็นพฤติกรรมที่ดี ส่งผลให้ผลการประเมินต่างๆดีขึ้น จากกลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มปกติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 10:09 น.