กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้เฒ่าฟันดี ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5281-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 พฤษภาคม 2568 - 14 พฤษภาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 14 มิถุนายน 2568
งบประมาณ 15,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวรวิทย์ กาเส็มส๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากและโรคในช่องปากเป็นปัญหาที่เกิดพบได้ทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียฟันในอัตราที่สูงทำให้มีผลทางด้านจิตใจและการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันและแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นได้ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๖๖ สถานการณ์การมีฟันถาวรใช้งานพบว่ากลุ่มผู้สูงอายุ ๖๐-๗๔ ปี มีฟันถาวรเฉลี่ย ๑๙.๖ ซี่ต่อคน ร้อยละ ๖๐.๙ มีฟันถาวรใช้งาน อย่างน้อย ๒๐ ซี่ และร้อยละ ๔๓.๗ มีฟันหลังสบกันอย่างน้อย ๔ คู่ และนอกจากนี้พบว่าร้อยละ ๖.๒ มีปัญหาการสูญเสียฟันทั้งปากและยังคงมีปัญหาสุขภาพช่องปากที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ ๗๔.๓ มีสภาวะเหงือกอักเสบ ร้อยละ ๔๘.๗ เป็นโรคปริทันต์อักเสบ โดยร้อยละ ๑๘.๗ เป็นโรคปริทันต์อักเสบในระดับรุนแรง ร้อยละ ๖๖.๖ มีฟันผุบริเวณตัวฟันที่ยังไม่ได้รับการรักษา เฉลี่ยว ๒.๑ ซี่ต่อคน ในส่วนของพฤติกรรมการดูแลทำความสะอาดช่องปากพบว่า ร้อยละ ๗๒.๓ แปรงฟันก่อนนอน ร้อยละ ๖๕.๓ ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ จากผลการตรวจฟันผู้สูงอายุประจำปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลทุ่งนุ้ยพบว่าผู้สูงอายุ มีปัญหาการสูญเสียฟันทั้งปากสูง ซึ่งสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและการเข้าถึงบริการ และจะต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการขจัดปัญหาสุขภาพช่องปากตามความจำเป็นและเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งสนับสนุนให้มีการส่งเสริม ป้องกันควบคุมรักษาและฟื้นฟู อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากไม่ได้รับการดำเนินการอย่างเหมาะสมและทันเวลา จะมีโอกาสลุกลาม นำไปสู่ความเจ็บปวดและสูญเสียฟันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสภาวะทันตสุขภาพให้ดีขึ้น

ร้อยละ ๕๐ มีความรู้ด้านทักษะการดูแลสุขภาพช่องปาก

2 เพื่อให้สามารถมีความรู้เกี่ยวกับการแปรงฟันที่ถูกวิธี และมีประสิทธิภาพการแปรงฟัน

ร้อยละ ๕๐ ได้รับความรู้และแปรงฟันได้ถูกวิธี มีประสิทธิภาพการแปรงฟัน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมสภาวะทันตสุขภาพให้ดีขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้สามารถมีความรู้เกี่ยวกับการแปรงฟันที่ถูกวิธี และมีประสิทธิภาพการแปรงฟัน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

14 พ.ค. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 70.00 15,700.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นตรียมการ ๑. เสนอร่างโครงการผ่านเวทีพิจารณาโดยคณะกรรมการกองทุนฯ ขั้นดำเนินการ ๑. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ผู้สูงอายุในชมรม ๒. ประชาสัมพันธ์โครงการ ประสานงานวิทยากร
๓. ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ๓.๑ วิทยากรบรรยายให้ความรู้ ๓.๒ วิทยากรสาธิตวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธี ๓.๓ เคี้ยวเม็ดสีย้อมฟัน ๓.๔ ทดสอบประสิทธิภาพการแปรงฟัน ขั้นประเมินผล ๑. เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ ๒. เปรียบเทียบกับงบประมาณ ๓. เปรียบเทียบกับผลที่คาดว่าจะได้รับ ๔.เปรียบเทียบกับความทันเวลาในการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านทักษะและการดูแลสุขภาพช่องปาก ร้อยละ ๕๐   ๒. ผู้สูงอายุสามารถรู้วิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธี ร้อยละ ๕๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 10:46 น.