โครงการ “ยาดมสมุนไพร ภูมิปัญญาไทยสู่สุขภาพที่ดี” ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการ “ยาดมสมุนไพร ภูมิปัญญาไทยสู่สุขภาพที่ดี” ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5281-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล |
วันที่อนุมัติ | 26 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 13 พฤษภาคม 2568 - 13 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 13 มิถุนายน 2568 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวรวิทย์ กาเส็มส๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.871,100.144place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 45 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
“ยาดมสมุนไพร” นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ใช้กลิ่นหอมของสมุนไพรในการกระตุ้นประสาทสัมผัส ช่วยบรรเทาอาการต่างๆ เช่น เวียนหัว คลื่นไส้ หรือรู้สึกไม่สดชื่น นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยรักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย เมื่อสูดดมกลิ่นหอมจากยาดม สมุนไพรจะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดไหลเวียนดีขึ้น ช่วยให้รู้สึกสดชื่น และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลทุ่งนุ้ย จึงเล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมในการส่งเสริมให้ความรู้เรื่องสมุนไพรและผลิตยาสมุนไพรด้วยตนเองได้ เพื่อนำเอาสมุนไพรในท้องถิ่นเป็นความรู้ในการดูแลสุขภาพสำหรับตนเอง และเพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพได้อีก ทั้งเป็นการกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและประโยชน์จากสมุนไพรได้อย่างยั่งยืนให้กับคนในชุมชน จึงนับได้ว่าการนำสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภูมิภาคและพัฒนาประเทศ เป็นส่วนหนึ่งตามศาสตร์ “การพึ่งตัวเอง” ซึ่งเป็นไปตามพระราชดำรัสและคำสอนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในชุมชน ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนร่วมในการอภิปรายและถามตอบในระหว่างการอบรม |
||
2 | ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทำยาดมสมุนไพรได้ ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถระบุชื่อและสรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ทำยาดมได้อย่างถูกต้องอย่างน้อย 5 ชนิด และสามารถจัดทำยาดมสมุนไพรด้วยตนเองได้ อย่างถูกหลักวิธี |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
13 มี.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้พร้อมผลิตยาดมสมุนไพร | 45 | 15,000.00 | - | ||
รวม | 45 | 15,000.00 | 0 | 0.00 |
1.จัดทำโครงการเพื่อเสนอนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย 2.ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบอย่างทั่วถึง 3.ประสานวิทยากรเพื่อให้การอบรม 4.ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนโครงการ 5.ติดตามและประเมินผลโครงการ
1.ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ยาดมสมุนไพรบรรเทาอาการ
เจ็บป่วยเบื้องต้น
2.ประชาชนจะมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในท้องถิ่นมากขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับครอบครัว
4.ช่วยสืบทอดภูมิปัญญาการทำยาดมสมุนไพรให้คงอยู่สืบไป
5.ช่วยส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
6.การใช้ยาดมสมุนไพรจะช่วยลดการพึ่งพายาเคมี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2568 11:00 น.