โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชนมุสลิมตำบลบางตาวา ปลอดภัย ห่างไกลโรค ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชนมุสลิมตำบลบางตาวา ปลอดภัย ห่างไกลโรค ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3068-10(1)-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา |
วันที่อนุมัติ | 25 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 28,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายรุสลี ดะเก๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายแวอูเซ็ง แวสาและ |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หมายถึง การศัลยกรรมโดยการตัดหนังหุ้มหลวมๆ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย จุดประสงค์หลักของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย มุ่งหมายเพื่อความสะอาดและขจัดสิ่งสกปรกที่จะทำให้เกิดโรคเป็นสำคัญ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย นับเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความสะอาด เนื่องจากหากหนังหุ้มปลายนั้นยังปกคลุมอยู่ ส่วนวัตถุที่คล้ายเนยแข็งซึ่งถูกขับถ่ายออกมาโดยผิวหนังของบริเวณปลายอวัยวะสืบพันธุ์จะเกิดการหมักหมม การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายจึงเป็นวิธีการขจัดสิ่งนี้ที่ดีที่สุด นอกจากนี้วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งคือเพื่อป้องกันน้ำปัสสาวะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกและมีกลิ่นที่ยากแก่การทำความสะอาด ซึ่งในทางการแพทย์ให้ความเห็นว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายมีความสำคัญในทางสุขวิทยาเป็นอย่างมาก แพทย์บางท่านเห็นว่าสมัยนี้สุขวิทยาเจริญก้าวหน้ามากกว่าก่อน สมควรให้มีการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย และแนะนำให้เด็กที่เกิดมาทุกคนได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เพราะการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถถป้องกันและลดปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อHIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้จะทำให้สารดังกล่าวคั่งซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้(นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร) นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วยผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย
จากบริบทพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล(ภาษาอาหรับ) หรือ “ทำสุนัต”(ภาษามลายู)มักทำกับหมอบ้าน หรือ “โต๊ะมูเด็ง”จากความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง”“การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน” เป็นต้นซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อค หรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา จึงได้เล็งเห็นความสำคัญชองการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือเข้าสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ความรู้การดูแลสุขภาพหลังการขลิบ (การป้องกันโรคและการเกิดโรคติดเชื้อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และประชาชน ได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพหลังการขลิบ (Circumcision) การป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
80.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมุสลิมได้ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision) ที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ เด็กและเยาวชนชายได้ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision) ที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
80.00 | |
3 | เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักและความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ มีการรณรงค์สร้างความตระหนักและความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อครอบคลุมทั้ง 2หมู่บ้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 70 | 28,400.00 | 2 | 28,400.00 | 0.00 | |
17 เม.ย. 68 | ให้ความรู้การดูแลสุขภาพหลังการขลิบ (การป้องกันโรคและการเกิดโรคติดเชื้อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง และรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค | 50 | 3,100.00 | ✔ | 3,100.00 | 0.00 | |
17 เม.ย. 68 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมุสลิมได้ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision) ที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ | 20 | 25,300.00 | ✔ | 25,300.00 | 0.00 | |
1 - 29 มิ.ย. 68 | ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 70 | 28,400.00 | 2 | 28,400.00 | 0.00 |
- เด็กและเยาวชนได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศสามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด(bleeding)
- เยาวชนและครอบครัว ได้ทราบถึงปัญหาและพิษภัยของโรคติดต่อโดยเฉพาะติดเชื้อทางเลือด
- สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็งในการป้องกันโรคติดเชื้อและสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 09:53 น.