โครงการฉลาดคิด ป้องกันภัย สร้างภูมิคุ้มกันใจนักเรียนบ้านค่าย
ชื่อโครงการ | โครงการฉลาดคิด ป้องกันภัย สร้างภูมิคุ้มกันใจนักเรียนบ้านค่าย |
รหัสโครงการ | 68-L2491-2-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 |
วันที่อนุมัติ | 18 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวธนา ฟุ้งเฟื่อง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรงเรียน บ้านค่าย ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนอย่างรอบด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ตามแนวทางโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่นักเรียนต้องเผชิญกับความท้าทายและภัยคุกคามที่หลากหลาย ทั้งจากภายในและภายนอกสถานศึกษา การสร้าง "ภูมิคุ้มกันทางใจ" (Resilience Quotient: RQ) จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ภูมิคุ้มกันทางใจนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถรับมือกับปัญหา ความเครียด และสถานการณ์ที่ยากลำบากได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวและฟื้นตัวจากอุปสรรคต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว จากสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่านักเรียนในโรงเรียนบ้านค่าย ยังขาดทักษะและความรู้ในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามต่าง ๆ ปัญหาการกลั่นแกล้ง รังแก ข่มขู่ การล่อลวงออนไลน์ และความเครียดจากความกดดันทางการเรียน เป็นต้น ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของนักเรียน ทำให้เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า และขาดความเชื่อมั่นในตนเอง นอกจากนี้ นักเรียนกลุ่มเสี่ยง เช่น นักเรียนที่มาจากครอบครัวยากจน ผู้ปกครองทำงานไกลบ้าน ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว นักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางเรียนรู้ อาจเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อนกว่านักเรียนทั่วไป ทำให้ต้องการการดูแลและสนับสนุนเป็นพิเศษ
จากเหตุผลดังกล่าว โรงเรียนบ้านค่าย จึงได้จัดทำโครงการ "ฉลาดคิด ป้องกันภัย สร้างภูมิคุ้มกันใจนักเรียนบ้านค่าย" ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ มีทักษะการป้องกันตนเอง และมีภูมิคุ้มกันทางใจให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โครงการนี้จะเน้นการให้ความรู้ การฝึกทักษะ และการสร้างสภาพ แวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาพจิตที่ดีของนักเรียน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน โครงการนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน การดำเนินโครงการนี้จะช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยง เสริมสร้างสุขภาพกายและจิตที่ดี และพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ มีทักษะการป้องกันตนเอง และภูมิคุ้มกันทางใจ (RQ) ในนักเรียนโรงเรียนบ้านค่าย 1.นักเรียนบ้านค่ายได้รับการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ มีทักษะการป้องกันตนเอง และภูมิคุ้มกันทางใจ (RQ) ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | 2.เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านค่าย 2.โรงเรียนบ้านค่ายมีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตที่ดีอยู่ในระดีดีขึ้นไป ร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | 3.เพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือและส่งต่อนักเรียนโรงเรียนบ้านค่ายที่มีปัญหาสุขภาพกายและจิต ให้ได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม 3.เครือข่ายโรงเรียนบ้านค่ายให้ความร่วมมือ สนับสนุนนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพกายและจิตอย่างเหมาะสมระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 80 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 15,000.00 | 0 | 0.00 | 15,000.00 | |
1 มิ.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 | ฉลาดคิด ป้องกันภัย สร้างภูมิคุ้มกันใจนักเรียนบ้านค่าย | 0 | 15,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 15,000.00 | 0 | 0.00 | 15,000.00 |
1.นักเรียนจะได้รับความรู้และพัฒนาทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ที่ดีขึ้น สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม มีทักษะในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
2.สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการพัฒนาสุขภาพจิตที่ดีของนักเรียน สภาพแวดล้อมที่ดีจะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลของนักเรียน และส่งเสริมความรู้สึกปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดี
3.โรงเรียนสามารถส่งต่อนักเรียนไปยังผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงทีเมื่อนักเรียนต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพกายและจิต
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 00:00 น.