กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รู้ทันป้องกันภัย ใส่ใจภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 68-L1523-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 21,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศศิมา โสะสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและระดมพลังทั้งสังคมเพื่อแก้ไขและขจัดปัญหาดังกล่าวผ่านกระบวนการทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยพ.ศ2554-2563 ซึ่งเป็นแผนระดับชาติเพื่อใช้เป็นกรอบชี้ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการเป็นเอกภาพด้วยการรวมพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนประชาชนมีศักยภาพในการจัดการปัจจัยเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อโรควิถีชีวิตเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ที่ลดเสี่ยงลดโรคลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดความตาย และลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งระดับบุคคล ครอบครัวชุมชนสังคมสังคมสุขภาวะบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง         จากข้อมูลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมาพบว่า โรคความดันโลหิตสูง และโรคโรคเบาหวานทั้งหมด ซึ่งในพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดานก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี และเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงเพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่น โรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 420 คน เป็นผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 192 คน มีภาวะแทรกซ้อนทางตาร้อยละ 3.1 ภาวะแทรกซ้อนทางเท้าร้อยละ 2.55 และแทรกซ้อนทางไตร้อยละ 2.55 ปัญหาดังกล่าวถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้มีภาวะสุขภาพดีขึ้น  ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลบ้านเขาเพดาน ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล มีความรู้ ความเข้าใจดูแลตนเองได้ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจหาปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองไตในหนึ่งนาที (eGFR) และผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1C) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 3 . เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจตาและเท้าโดยเจ้าหน้าที่ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 4. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีค่าผลเลือด eGFR ≤ 45 ได้รับการติดตามค่า eGFR และผู้ป่วยเบาหวานมีค่าน้ำตาลสะสมในเลือด › 7 ได้มีการติดตามผลเลือดครั้งที่ 2 5.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีค่าผลเลือด eGFR ≤ 45 ผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่าผลเลือด HbA1C ≥ 10 ผลตรวจตาและเท้าผิดปกติ ได้รับการส่งต่อ และมีการติดตามเยี่ยมบ้าน

๑. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม   2. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจหาปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองไตในหนึ่งนาที (eGFR) และผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1C) 3. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเบาหวานเข้ารับการตรวจตาและเท้า 4. ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีค่าผลเลือด eGFR ≤ 45 ได้รับการติดตามค่า eGFR และผู้ป่วยเบาหวานมีค่าน้ำตาลสะสมในเลือด › 7 ได้มีการติดตามผลเลือดครั้งที่ 2 5. ร้อยละ 100 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีค่าผลเลือด eGFR ≤ 45 ผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่าผลเลือด HbA1C ≥ 10 ผลตรวจตาและเท้าผิดปกติ ได้รับการส่งต่อ และได้รับการเยี่ยมบ้าน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการและขั้นดำเนินการ 1. จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนโครงการรู้ทันป้องกันภัย ใส่ใจภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง
2. วิเคราะห์สถานการณ์ พร้อมสรุปรวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย 3. จัดประชุม ชี้แจง จากทุกภาคส่วน แจ้งแนวทางในการดำเนินงาน 4. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ โดยการจัดกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแรกซ้อนจากโรคเรื้อรังแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยใช้แบบประเมินความรู้ก่อน – หลังการอบรม และแบบประเมินความพึงพอใจ กิจกรรมที่ 2 ตรวจตาและเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน จำนวน 120 คน กิจกรรมที่ 3 เจาะเลือดหาค่าน้ำตาลสะสมในเลือดและค่า eGFR ครั้งที่ 2 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้า รับบริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดานที่มีค่าน้ำตาลสะสมในเลือด › 7 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีค่าปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองไตในหนึ่งนาที eGFR ≤ 45 จำนวน  40 คน
  กิจกรรมที่ 4 เยี่ยมบ้านและ ส่งต่อผู้ป่วยในรายที่พบความผิดปกติ ดังนี้ - ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีผลน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือด(HbA1c)สูงกว่า 10 - ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีค่าปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองไตในหนึ่งนาที eGFR ≤ 45 - ผู้ที่ตรวจตาและเท้าพบผิดปกติ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนและผู้ดูแล มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง และบุคคลในครอบครัวได้อย่างถูกต้อง 2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยเบาหวาน มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในควบคุมภาวะแทรกซ้อนของโรคโดยมีค่าผลเลือดหาปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองไตในหนึ่งนาที eGFR › 45 และค่าน้ำตาลสะสมในเลือดได้ดี โดยมีค่า HbA1c ‹ 7 เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและโรคเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 10:47 น.