โครงการฝึกอบรมและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนมุสลิม ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการฝึกอบรมและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนมุสลิม ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2516-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลสาวอ |
วันที่อนุมัติ | 28 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 9 เมษายน 2568 - 10 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 49,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมุฮัมมัดมมุิน วาแวนิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | ว่าที่ร้อยตรีนาซือรี กามา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.434,101.507place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 28 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล การเข้าสุนัตเป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของคนมุสลิม ถือว่าคนมุสลิมที่แท้จริงต้องเข้าสุนัต และเป็นสิ่งจำเป็นที่เด็กผู้ชายมุสลิมจะต้องผ่านให้ได้ พิธีเข้าสุนัตของเด็กไทยมุสลิม ซึ่งภาษาอาหรับ เรียกว่า คีตาน ภาษามลายู เรียกว่า มาโซะยาวี ส่วนคนไทยโดยทั่วไป เรียกว่า พิธีเข้าสุนัต หมายถึง การขลิบปลายอวัยวะเพศของเด็กไทยมุสลิม ทั้งชายและหญิง เมื่อย่างเข้าวัยอันควร คือ อายุระหว่าง 8 – 15 ปี เด็กไทยมุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม สามารถที่จะเป็นมุสลิมโดยการปฏิญาณตนว่า “อัซหะดุ อัลลา อิลาหะอิลลัลลอหุ วะอัซหะดุอันนะ มูฮัมมะดัร รอซูลุลลอห ข้าพเจ้าให้คำปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ และข้าพเจ้าให้คำปฏิญาณว่า มูฮัมมัด เป็นศาสนาทูตของอัลลอฮ” หลังจากนั้นผู้นั้นต้องขลิบปลายหนังอวัยวะเพศ หากเป็นเด็กชาย เรียกว่า การทำสุนัตและปฏิบัติตามศาสนาวินัยต่างๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบและฮะรอม) นั้น ในการนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลสาวอ ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนมุสลิม ประจำปี 2568 โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อบต.สาวอ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราการป่วยและอัตราการป่วยที่เป็นปัญหาสำคัญ ของประเทศ โดยเป็นโครงการที่ทุกพื้นที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพในกลุ่มเด็กนักเรียนและเยาวชน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสาธารณสุขระดับท้องถิ่น ของกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วิธีการดำเนินการ
1. กิจกรรมเตรียมความพร้อม
1) จัดประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
2) ประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่สำรวจและรับสมัครเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ
3) จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อออกบริการทำสุนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชน
2. กิจกรรมออกบริการทำสุนัตแก่เด็กและเยาวชนมุสลิมตำบลสาวอ
1) กิจกรรม การบรรยายให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ และการดูแลสุขภาวะอนามัยอวัยวะเพศชายหลังจากการขลิบหนังหุ้มปลาย) แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค
2) กิจกรรม ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)
3. การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการทำสุนัต และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก
4. สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม
จากงบประมาณเงินอุดหนุนระบุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อบต.สาวอ ตามโครงการฝึกอบรมและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนมุสลิม ประจำปี 2568 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 49,000 บาท (สี่หมื่นเก้าพันบาทถ้วน) ตามรายละเอียด ดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆละ 50 บาท จำนวน 56 คน เป็นเงิน 2,800.- บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆละ 25 บาท
จำนวน 56 คน เป็นเงิน 2,800.- บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ เป็นเงิน 5,200.- บาท
- ค่าหัตถการพร้อมชุดหัตถการ 1,200 บาท x 28 ชุด เป็นเงิน 33,600.- บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท
- ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน 1,000.- บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 49,000 บาท
(สี่หมื่นเก้าพันบาทถ้วน)
(รายละเอียดทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2568 11:28 น.