โครงการ อสม.นักวิทย์อาสาคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลตะโละกาโปร์ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการ อสม.นักวิทย์อาสาคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลตะโละกาโปร์ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L8420-02-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละกาโปร์ |
วันที่อนุมัติ | 22 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 34,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางบังอร เนาวบุตร |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางวรรณาพร บัวสุวรรณ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.887755,101.361264place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 5 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อนมีสารเคมีตกค้างในอาหาร | 20.00 | ||
2 | ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ตรวจพบสารห้ามใช้ที่ป็นอันตรายต่อผู้บริโภค | 30.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันสุขภาพของคนในพื้นที่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด หนึ่งในจำนวนโรคเหล่านั้นนั้นก็เป็นมีโรคมะเร็ง ที่เป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งสาเหตุเกิดจากอาหารการกินสารเคมีที่ปนเปื้อนมาในอาหารในรูปแบบต่างๆ ทำให้ประชาชนเกิดโรคมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิดที่เกิดขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์อาหารยา และเครื่องสำอางค์ ที่กลุ่มผู้ผลิตโฆษณาเพื่อดึงดููดความสนใจผู้บริโภคให้มาใช้สินค้า เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ กลุ่มผู้ผลิตพยายามหาจุดขายของผลิตภัณฑ์ บางผลิตภัณฑ์มีการใช้สารที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม เพราะเป็นอันตรายต่อสุุขภาพของผู้บริโภค เช่น สารไฮโดรควิโนนสารปรอท ซึ่งห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์สารสเตียรอยด์ ห้ามใช้ในยาแผนโบราณ ส่วนใหญ่จะพบในยาลูกกลอน กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้ ใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ รวมทั้ง ร้านค้าที่นำผลิตภัณฑ์สุขภาพมาขายในร้าน ยังมีการแอบนำผลิตภัณฑ์ ยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำมาขายให้ประชาชนในชุมชนจำเป็นต้องให้ประชาชนได้รับความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้โดยผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม. )เป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรม ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงได้จัดทำโครงการ อสม. นักวิทย์ คุ้มครองผู้บริโภคขึ้นเพื่อสร้างแกนนำช่วยเฝ้าระวัง ตรวจร้านชำ และให้ความรู้กับประชาชนการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ที่ปลอดภัย และรับทราบข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ที่ประกาศห้ามใช้และเพื่อลดการใช้สารเคมีในเกษตรกรและประชาชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเสริมสร้างทักษะในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร/ยาและสารเคมีในเครื่องสำอางให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร้อยละ 70 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีความรู้และทักษะในการตรวจสารปนเปื้อนที่ถูกต้อง |
0.00 | 70.00 |
2 | ร้านค้าในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียน ได้รับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร/ยาและสารเคมีในเครื่องสำอาง ร้อยละ80 ของร้านค้าในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียน ได้รับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร/ยาและสารเคมีในเครื่องสำอาง |
80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 34,600.00 | 0 | 0.00 | |
4 - 31 พ.ค. 68 | อบรมให้ความรู้ฝึกทักษะในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร/ยาและสารเคมีในเครื่องสำอางให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และชี้แจงการดำเนินงาน | 0 | 20,800.00 | - | ||
1 - 30 มิ.ย. 68 | ค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยในร้านค้า/โรงเรียน | 0 | 12,000.00 | - | ||
1 - 31 ก.ค. 68 | สรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียน | 0 | 1,800.00 | - |
1.อสม. มีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการตรวจสารปนเปื้อน 2.ร้านค้าและโรงอาหารในโรงเรียน ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในอาหาร/ยาและสารเคมีในเครื่องสำอาง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 09:24 น.