กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการสมวัยในเด็กปฐมวัย “พัฒนาทักษะสมอง (Executive Function : EF)
รหัสโครงการ 68-L5185-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 31 พฤษภาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2568
งบประมาณ 14,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าชิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดทักษะสมอง EF โดยการใช้กิจกรรมเป็นสื่อ
40.00
2 เพื่อให้ครูปฐมวัย ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้จัดกิจกรรม สามารถนำผลงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (Executive Function : EF)
52.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ครูปฐมวัยเป็นวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงต้องใช้ศิลป์และศาสตร์ในการปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาวิชาชีพครู ให้มีมาตรฐานสูงให้เป็นที่ยอมรับในสังคม ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องก้าวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการ เทคโนโลยี ค่านิยม วัฒนธรรมทางสังคม การปฏิบัติงานของครูปฐมวัยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการสอน (Teaching) ในห้องเรียนเท่านั้น การจัดการเรียนการสอนของครูปฐมวัยส่วนใหญ่มักจะเป็นไปในลักษณะที่ใช้พื้นฐานความรู้เดิม ความสนใจส่วนตัว และประสบการณ์เดิม มีครูปฐมวัยจำนวนน้อยมากที่ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือเพื่อนำผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานของตน ซึ่งการที่ครูปฐมวัยจะพัฒนาตนเองไปสู่การทำงานที่เป็นระบบเข้าถึงเด็กและรู้ทันการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างครูปฐมวัยมืออาชีพ เป้าหมายการเป็นครูปฐมวัยมืออาชีพได้ตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ มาตรา 30 ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพและมีความสุข เพื่อไม่ให้เป็นการปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กตามวัยที่เหมาะสม เมื่อการศึกษาในระดับปฐมวัยเน้นแต่ด้านวิชาการทำให้ระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนั้นทำให้เด็กมีโอกาสในการเล่น รวมถึงการเรียนทักษะต่าง ๆ ที่ควรฝึกในช่วงปฐมวัยลดลง เช่น การฝึกกล้ามเนื้อการปลูกฝังมารยาทและจิตสำนึก หรือแม้แต่การฝึกการเข้าสังคมกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน จากการวิจัยพบว่า เมื่อเด็ก ๆเริ่มเรียนวิชาการตั้งแต่ในระดับปฐมวัยในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กในด้านอื่นๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ปัญหา เพราะในความจริงแล้วเด็กปฐมวัยต้องการการฝึกฝนทักษะทางการสังเกต และการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่เกิดจากการได้เล่น ได้เรียนรู้ ทดลอง และลงมือทำด้วยตนเอง ที่จะเป็นการเพิ่มความสามารถของพวกเขาเพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมองให้พัฒนาได้อย่างเต็มความ สามารถ ที่ทำให้เซลล์สมองสามารถแตกแขนงออกไปได้มาก เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาของช่วงต่อไปเมื่อโตขึ้น แต่เมื่อเด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะทางด้านนี้อย่างเต็มที่ แต่กลับถูกจำกัดให้เรียนแต่ด้านวิชาการ ทำให้มีแค่เซลล์สมองส่วนความ จำเท่านั้นที่พัฒนา ในขณะที่เซลล์สมองอื่นๆ ของเด็กไม่แตกแขนง และไม่ได้พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็นอย่างเหมาะสมตามวัยและเมื่อเลยวัยนี้ไปแล้ว ก็เป็นการยากที่จะกลับมาพัฒนาได้อีก เพื่อลดความเลื่อมล้ำโอกาสใน การศึกษา จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ควรเข้าไปส่งเสริมพัฒนาเด็ก ทักษะสมอง Executive Functions (EF) คือทักษะที่จะช่วยให้เด็ก “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และหาความสุขเป็น”EF ช่วยให้เด็กมีเหตุมีผล ยับยั้งชั่งใจได้ กำกับอารมณ์และพฤติกรรมตนเองได้ วางแผนทำงานเป็น ใจจดจ่อ ทำการใดไม่วอกแวก จดจำประสบการณ์ในอดีต มาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และคาดการณ์ผลในอนาคตได้ ช่วยให้เด็กจัดการกับงานหลาย ๆ อย่างให้ลุล่วงเรียบร้อยได้ จัดลำดับงานเป็นขั้นเป็นตอน ยึดเป้าหมายแล้วมุ่งมั่น พากเพียร ทำไปเป็นขั้นตอนจนสำเร็จ EFช่วยให้เด็กพัฒนาตนจากการมีชีวิตที่มีคุณค่าแห่งคุณงามความดี บ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตที่ดี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่ดีงามซึ่งช่วงปฐมวัยจึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการสร้างมนุษย์ให้ก้าวหน้าและมีคุณค่าต่อสังคม เพราะเซลล์ประสาทในสมองของเด็ก อายุ ๓-๖ ปี จะมีการเจริญเติบโตรวดเร็วมากหรือเป็นช่วง “หน้าต่างแห่งโอกาส” ที่จะพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าให้สามารถควบคุมความรู้สึก การคิดและการกระทำหรือเรียกว่าทักษะสมอง EF( Executive Functions) “ความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิต” เพราะการวางพื้นฐานด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ในช่วงอายุแรกเกิด ถึง ๖ ปี เป็นช่วงวัยที่เหมาะสมในการสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กนับตั้งแต่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู และชุมชน ที่จะเข้าร่วมในการเตรียมความพร้อมให้เด็กเติบโตอย่างเต็มศักยภาพและสร้างพฤติกรรมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับเด็ก ในโลกแห่งศตวรรษที่ ๒๑ โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของผลจากการพัฒนาที่เป็นไปอย่างรุนแรง รวดเร็วและซับซ้อน ครูปฐมวัยจึงมีบทบาทและหน้าที่โดยตรงที่จะเป็นผู้วางรากฐานให้เด็กสามารถ “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น”


ดังนั้น กองการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลป่าชิง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการสมวัยในเด็กปฐมวัย “พัฒนาทักษะสมอง (Executive Function : EF)เพื่อให้ครูผู้สอนปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้จัดกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายจะได้นำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย อีกทั้งยังเป็นการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ซึ่งเป็นพันธกิจหลักของกองการศึกษา และสามารถนำผลงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (Executive Function : EF) เพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัยมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ได้ รวมทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดทักษะสมอง EF โดยการใช้กิจกรรมเป็นสื่อ

 

40.00 40.00
2 ให้ครูปฐมวัย ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้จัดกิจกรรม สามารถนำผลงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (Executive Function : EF)

 

52.00 52.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,860.00 0 0.00
1 - 30 เม.ย. 68 อบรมเชิงปฏิบัติการ 0 7,960.00 -
1 - 15 พ.ค. 68 สร้างความเข้าใจพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแก่ผู้ปกครอง 0 6,900.00 -
16 - 31 พ.ค. 68 ติดตามและประเมินผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูปฐมวัย ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้จัดกิจกรรม สามารถนำผลงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (Executive Function : EF)
  2. เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดทักษะสมอง EF โดยการใช้กิจกรรมเป็นสื่อที่หลากหลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2568 15:49 น.