โครงการนักเรียนร่วมใจ หยุดวงจรยุงลายด้วยสเปรย์สมุนไพรสร้างสรรค์
ชื่อโครงการ | โครงการนักเรียนร่วมใจ หยุดวงจรยุงลายด้วยสเปรย์สมุนไพรสร้างสรรค์ |
รหัสโครงการ | 68-L3061-1-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โครงการนักเรียนร่วมใจ หยุดวงจรยุงลายด้วยสเปรย์สมุนไพรสร้างสรรค์ |
วันที่อนุมัติ | 27 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 เมษายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนูรีซัม มอลอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายมะรอกี เวาะเลง |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงเรียนบ้านเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 13 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดปัตตานี โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยเฉพาะในอำเภอหนองจิก ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตที่พบการแพร่ระบาดสูง ในปี 2566 ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าจังหวัดปัตตานีมีผู้ป่่วยไข้เลือดออกสะสมถึง 1,660 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยพื้นที่อำเภอหนองจิกมีรายงานการระบาดในชุมชนและสถานศึกษา ซึ่งกลุ่มเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ เด็กและเยาวชน
ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก มีลักษณะพื้นที่ที่เอื้อต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขังในภาชนะรอบบ้านและพื่นที่เกษตรกรรม การป้องกันและลดจำนวนยุงลายจึงมีความสำคัญเร่งด่วนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค การนำทรัพยากรท้องถิ่น เช่น สมุนไพรพื้นบ้าน มาประยุกต์ใช้เป็นสเปรย์ไล่ยุง ถือเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
สมุนไพรพื้นบ้าน เช่น ตะไคร้หอม ใบสะระแหน่ และเปลือกส้ม มีคุณสมบัติในการไล่ยุงโดยธรรมชาติและปลอดภัยต่อสุขภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชเหล่านี้ไม่เพียงช่วยลดปัญหายุงลาย แต่ยังส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในพื้นที่อย่างคุ้มค่า สร้างความตระหนักรู้ในชุมชนและเพิ่มศักยภาพในการจัดการปัญหาสาธารณสุขด้วยภูมิปัญญาในท้องถิ่น
โครงการ นักเรียนร่วมใจ หยุดวงจรยุงลาย สเปรย์สมุนไพรสร้างสรรค์ จึงจัดขึ้นเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้การนำสมุนไพรพื้นบ้านมาผลิตเป็นสเปรย์ไล่ยุง โดยมุ่งเน้นการลดจำนวนยุงลายในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะ สร้างสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความยั่งยืนให้กับชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อสร้างความตระหนักให้รู้เกี่ยวกับภัยของยุงลายและโรคที่เกิดจากยุงลาย 1.ร้อยละ 70 สร้างความตระหนักให้รู้เกี่ยวกับภัยของยุงลายและโรคที่เกิดจากยุงลาย |
50.00 | 30.00 |
2 | 2.เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยในการผลิตสเปรย์ไล่ยุง 2.ร้อยละ 50 ส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยในการผลิตสเปรย์ไล่ยุง |
30.00 | 10.00 |
3 | 3.เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน 3.ร้อยละ 70 พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน |
30.00 | 10.00 |
4 | 4.เพื่อสร้างชุมชนปลอดภัยจากโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ 4.ร้อยละ 50 เพื่อสร้างชุมชนปลอดภัยจากโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ |
30.00 | 10.00 |
5 | 5.เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.ร้อยละ 60 ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น |
50.00 | 20.00 |
6 | 6.เพื่อเป็นต้นแบบการสร้างโครงการด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน 6.ร้อยละ 50 เป็นต้นแบบการสร้างโครงการด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน |
30.00 | 10.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | |
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ ให้กับนักเรียนและครูเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการผลิตสเปรย์ไล่ยุง | 0 | 8,550.00 | - | ||
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมการเรียนการสอน | 0 | 11,450.00 | - |
1.การใช้สเปรย์สมุนไพรที่ผลิตในโครงการจะช่วยลดจำนวนยุงลายในบ้านเรือนและพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะในโรงเรียนและชุมชนตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก
2.นักเรียนและชุมชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การป้องกันตนเอง และการลดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย
3.สมุนไพรท้องถิ่น เช่น ตะไคร้หอมและสะระแหน่ ได้รับการนำมาใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ เป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์ทรัพยากรและภูมิปัญญาชาวบ้าน
4.นักเรียนสามารถผลิตสเปรย์ไล่ยุงที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสามารถนำไปใช้จริงในชีวิตประจำวันได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2568 11:37 น.