กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนักเรียนร่วมใจ หยุดวงจรยุงลายด้วยสเปรย์สมุนไพรสร้างสรรค์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

โครงการนักเรียนร่วมใจ หยุดวงจรยุงลายด้วยสเปรย์สมุนไพรสร้างสรรค์

โรงเรียนบ้านเกาะเปาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดปัตตานี โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยเฉพาะในอำเภอหนองจิก ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตที่พบการแพร่ระบาดสูง ในปี 2566 ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าจังหวัดปัตตานีมีผู้ป่่วยไข้เลือดออกสะสมถึง 1,660 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยพื้นที่อำเภอหนองจิกมีรายงานการระบาดในชุมชนและสถานศึกษา ซึ่งกลุ่มเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ เด็กและเยาวชน
ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก มีลักษณะพื้นที่ที่เอื้อต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขังในภาชนะรอบบ้านและพื่นที่เกษตรกรรม การป้องกันและลดจำนวนยุงลายจึงมีความสำคัญเร่งด่วนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค การนำทรัพยากรท้องถิ่น เช่น สมุนไพรพื้นบ้าน มาประยุกต์ใช้เป็นสเปรย์ไล่ยุง ถือเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
สมุนไพรพื้นบ้าน เช่น ตะไคร้หอม ใบสะระแหน่ และเปลือกส้ม มีคุณสมบัติในการไล่ยุงโดยธรรมชาติและปลอดภัยต่อสุขภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชเหล่านี้ไม่เพียงช่วยลดปัญหายุงลาย แต่ยังส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในพื้นที่อย่างคุ้มค่า สร้างความตระหนักรู้ในชุมชนและเพิ่มศักยภาพในการจัดการปัญหาสาธารณสุขด้วยภูมิปัญญาในท้องถิ่น
โครงการ นักเรียนร่วมใจ หยุดวงจรยุงลาย สเปรย์สมุนไพรสร้างสรรค์ จึงจัดขึ้นเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้การนำสมุนไพรพื้นบ้านมาผลิตเป็นสเปรย์ไล่ยุง โดยมุ่งเน้นการลดจำนวนยุงลายในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะ สร้างสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความยั่งยืนให้กับชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความตระหนักให้รู้เกี่ยวกับภัยของยุงลายและโรคที่เกิดจากยุงลาย

1.ร้อยละ 70 สร้างความตระหนักให้รู้เกี่ยวกับภัยของยุงลายและโรคที่เกิดจากยุงลาย

50.00 30.00
2 2.เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยในการผลิตสเปรย์ไล่ยุง

2.ร้อยละ 50 ส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยในการผลิตสเปรย์ไล่ยุง

30.00 10.00
3 3.เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน

3.ร้อยละ 70 พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน

30.00 10.00
4 4.เพื่อสร้างชุมชนปลอดภัยจากโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

4.ร้อยละ 50 เพื่อสร้างชุมชนปลอดภัยจากโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

30.00 10.00
5 5.เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น

5.ร้อยละ 60 ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น

50.00 20.00
6 6.เพื่อเป็นต้นแบบการสร้างโครงการด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน

6.ร้อยละ 50 เป็นต้นแบบการสร้างโครงการด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน

30.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 13
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ให้กับนักเรียนและครูเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการผลิตสเปรย์ไล่ยุง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ ให้กับนักเรียนและครูเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการผลิตสเปรย์ไล่ยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ ให้กับนักเรียนและครูเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการผลิตสเปรย์ไล่ยุง รวมทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิดที่ใช้ในโครงการ -ค่าอาหารกลางวัน วันที่ 1 จำนวน 33 คน x 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน วันที่ 2 จำนวน 33 คน x 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครืองดื่ม วันที่ 1 จำนวน 33 คน x 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 825 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม วันที่ 1 จำนวน 33 คน x 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 825 บาท -ค่าวิทยากรในการอบรม ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 2 วัน 2 คน วันละ 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
              รวมเป็นเงิน  8,550  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.การใช้สเปรย์สมุนไพรที่ผลิตในโครงการจะช่วยลดจำนวนยุงลายในบ้านเรือนและพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะในโรงเรียนและชุมชนตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก 2.นักเรียนและชุมชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การป้องกันตนเอง และการลดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย
3.สมุนไพรท้องถิ่น เช่น ตะไคร้หอมและสะระแหน่ ได้รับการนำมาใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ เป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์ทรัพยากรและภูมิปัญญาชาวบ้าน 4.นักเรียนสามารถผลิตสเปรย์ไล่ยุงที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสามารถนำไปใช้จริงในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8550.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการเรียนการสอน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการเรียนการสอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการเรียนการสอน เช่น การบรรยาย การทำเวิร์กช็อป ทำสเปรย์ไล่ยุง เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันยุงลายในชุมชน
-ค่าวัสดุสำหรับผลิตสเปรย์สมุนไพร     -ตะไคร้หอม, เปลือกส้ม, สะระแหน่ (สมุนไพรหลัก) 1,500 บาท     -แอลกอฮอล์ (สำหรับการสกัดและใช้เป็นส่วนผสม) 500 บาท     -น้ำมันหอมระเหย (เสริมคุณสมบัติไล่ยุงและเพิ่มกลิ่นหอม) 2,000 บาท     -บรรจุภัณฑ์ เช่น ขวดสเปรย์ 100 ml (ประมาณ 100 ขวด) 3,000 บาท     -สื่อการเรียนการสอน 800 บาท
    -อุปกรณ์ฐานผลิตสเปรย์ (บิกเกอร์ มีด ขวดโหลหมัก แก้วขน ตาชั่ง) ฐานละ 330 จำนวน 5 ฐาน : 3,650 บาท
         รวมเป็นเงิน  11,450  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.การใช้สเปรย์สมุนไพรที่ผลิตในโครงการจะช่วยลดจำนวนยุงลายในบ้านเรือนและพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะในโรงเรียนและชุมชนตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก
2.นักเรียนและชุมชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การป้องกันตนเอง และการลดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย
3.สมุนไพรท้องถิ่น เช่น ตะไคร้หอมและสะระแหน่ ได้รับการนำมาใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ เป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์ทรัพยากรและภูมิปัญญาชาวบ้าน
4.นักเรียนสามารถผลิตสเปรย์ไล่ยุงที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสามารถนำไปใช้จริงในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.การใช้สเปรย์สมุนไพรที่ผลิตในโครงการจะช่วยลดจำนวนยุงลายในบ้านเรือนและพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะในโรงเรียนและชุมชนตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก
2.นักเรียนและชุมชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การป้องกันตนเอง และการลดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย
3.สมุนไพรท้องถิ่น เช่น ตะไคร้หอมและสะระแหน่ ได้รับการนำมาใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ เป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์ทรัพยากรและภูมิปัญญาชาวบ้าน
4.นักเรียนสามารถผลิตสเปรย์ไล่ยุงที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสามารถนำไปใช้จริงในชีวิตประจำวันได้


>