กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กดีราชประชา สุขภาพกายดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ L6959-68-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 10
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 18,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไลลา เจะซู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการของนักเรียนระดับประถมศึกษา มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในการสร้างพื้นฐานสุขภาพที่แข็งแรงและการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้ นักเรียนได้มีโอกาสเติบโตและเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสมบูรณ์ทางสุขภาพ สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่เพียงปัญหาเรื่องหลักที่ต้องเผชิญกับความไม่สงบในพื้นพื้นที่ แต่เด็กและเยาวชนยังมีปัญหาจากบริบทพื้นที่ที่ไม่เอื้ออำนวยอื่น ๆ อีกมากมายที่ส่งผลให้เกิดปัญหาทุพโภชนาการในเด็กที่มีแนวโน้มน่ากังวลมากที่สุด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในระยะยาว โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 10 อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 เป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริที่มีขนาดเล็ก มีนักเรียน จำนวน 120 คน คน เป็น โรงเรียนในเขตพื้นที่ชนบท ห่างไกลตัวเมืองนราธิวาส ประมาณ 27 กิโลเมตร สภาพชุมชนรอบโรงเรียนมีลักษณะหนาแน่นเป็นบางพื้นที่ มีประชากรประมาณ 1.210 คน (ร้อยละ 100 นับถือศาสนาอิสลาม) อาชีพหลักของคนในชุมชน คือ รับจ้าง ทำนาและเกษตรกรรม ผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่ยากจนและชาดโอกาสทางการศึกษานักเรียนบางส่วนอาศัยอยู่กับปู่ย่า ตายาย ผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลบุตรหลานในช่วงตอนเช้าซึ่งเป็น ชั่วโมงเร่งด่วนของวัน ทำให้นักเรียนไม่ได้รับประทานอาหารเช้า และเลือกที่จะซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์มากินแทนอาหารเช้า สำหรับนักเรียนที่ยากจน ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน จากการประเมินพฤติกรรมทางสุขภาพที่มีความเสี่ยงของนักเรียนในโรงเรียนในปีที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการ ภาวะผอม ร้อยละ 10 ภาวะเริ่มอ้วน ร้อยละ 5 ภาวะอ้วน ร้อยละ 3 และภาวะเตี้ย ร้อยละ 20 ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาจรฐาน และก่อให้เกิดผลเสียต่อพัฒนาการทางกายและพัฒนาการทางสมองของนักเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเป็นเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะ ยากจน นักเรียนร้อยละ 10 มีน้ำหนักน้อย ขาดสารอาหาร พัฒนาการช้า เป็นโรคง่ายและป่วยบ่อยโรงเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงต้องการที่จะแก้ไขและดำเนินการเพื่อส่งเสริมสุขภาพของ นักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมและมีสุขภาวะที่ดี ให้นักเรียนรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มี ประโยชน์และปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนานโยบายสุขภาวะประเด็นด้านโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย และมีแผนการนำใช้ในโรงเรียน อย่างชัดเจน

 

0.00
2 เพื่อจัดบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานประเด็นด้านโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย ให้กับนักเรียนและ บุคลากรของโรงเรียน

 

0.00
3 เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการมีพฤติกรรมสุขภาวะประเด็นด้านโภชนาการ และอาหารที่ปลอดภัย เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมสร้างความรู้ ทัศนคติ และทักษะสุขภาพของนักเรียนให้ สุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดีของครอบครัวและชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติเสริมสร้าง ความรอบรู้ด้านสุขภาพและสุขภาวะในด้านโภชนาการ 0 1,500.00 -
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้อาหารหลัก 5 หมู่ 0 4,800.00 -
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมการเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ 0 11,950.00 -
รวม 0 18,250.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นโยบายและแผนปฏิบัติ การเสริมสร้างความรอบรู้ ด้านสุขภาพและสุขภาวะ ที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติ ได้
  2. คณะครู คณะกรรมการ สถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนมีส่วนร่วม และให้ความร่วมมือใน การจัดทำนโยบายและ แผนปฏิบัติการเสริมสร้าง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และสุขภาวะ
  3. นักเรียน ผู้ปกครอง และ คนในชุมชนเกิดความรอบ รู้ด้านสุขภาพ ประเด็นานโภชนาการและ อาหารที่ปลอดภัย
  4. นักเรียน ผู้ปกครองและ คนในชุมชน มีพฤติกรรม สุ ข ภ า พ ป ร เ ด็ น ด้ า น โภชนาการและอาหารที่ ปลอดภัย เหมาะสม และ สามารถเป็นตัวอย่างที่ดี บอกกล่าวความรู้ด้าน สุขภาพให้กับเพื่อนและ ครอบครัวได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2568 15:03 น.