โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี |
รหัสโครงการ | 68-L4123-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด |
วันที่อนุมัติ | 25 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 16,430.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางแวเย๊าะ มะณีหิยา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 71 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาที่พบมากที่สุดและเป็นปัญหาทันตสุขภาพ สำคัญของเด็กไทยปฐมวัยคือ โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย รองลงมาคือโรคเหงือกอักเสบ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยโดยรวมของเด็ก ทั้งนี้ ผลของการเกิดโรคฟันผุ จะมีผลต่อระบบการเคี้ยวอาหาร อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ถ้าเกิดในเด็กจะทำให้เด็กไม่อยากรับประทานอาหาร จะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคไปยังอวัยวะอื่นได้ เด็กที่มีฟันผุลุกลามในบริเวณกว้างและมีอัตราการผุที่เร็วอาจต้องสูญเสียฟันตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากนี้แล้วการเกิดฟันผุปริมาณมากในชุดฟันน้ำนมนั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญ ที่จะทำนายการเกิดฟันผุในชุดฟันแท้ในอนาคตได้อีกด้วย
จากผลการดำเนินงานงานทันตกรรมเด็กอายุ 0 – 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา พบว่า ข้อมูลของเด็กในปี 2567 เด็ก 0 – 2 ปี จำนวน 48 คน และเด็กอายุ 3 – 5 ปี จำนวน 42 คน จากรายงานเด็กอายุครบ 3 ปีที่มารับบริการที่คลินิกทันตกรรม จำนวน 8 คน มีฟันผุ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ซึ่งเกิดจากการที่เด็กชอบรับประทานอาหารหวาน และพ่อแม่ไม่มีเวลาในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเนื่องจากทำงาน ทาง รพ.สต. จึงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ 4 เดือนของทารกโดยการใช้ถุงนิ้วมือทำความสะอาดเหงือก เด็กที่เกิดใหม่จะมีสุขภาพกายและฟันที่แข็งแรง เด็กได้รับการดูแลที่ดีและสร้างเจตคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับทันตสุขภาพ นอกจาก พ่อแม่ที่ได้รับการฝึกฝนการแปรงฟันที่ถูกต้องจะส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีทั้งพ่อแม่และลูก
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้อง มีทักษะการแปรงฟันให้ลูกที่สะอาด และถูกวิธี และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของลูกให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีทักษะการแปรงฟันให้ลูกที่สะอาด และถูกวิธี ร้อยละ 100 ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีทักษะการแปรงฟันให้ลูกที่สะอาด และถูกวิธี |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้เรื่องทันตสุภาพมากขึ้น |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 16,430.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุภาพแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย | 0 | 12,295.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม | 0 | 4,135.00 | - |
- เด็กปฐมวัยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ
- ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีทักษะการแปรงฟันให้ลูกที่สะอาด และถูกวิธี
- ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้เรื่องทันตสุขภาพมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2568 00:00 น.