กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาที่พบมากที่สุดและเป็นปัญหาทันตสุขภาพ สำคัญของเด็กไทยปฐมวัยคือ โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย รองลงมาคือโรคเหงือกอักเสบ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยโดยรวมของเด็ก ทั้งนี้ ผลของการเกิดโรคฟันผุ จะมีผลต่อระบบการเคี้ยวอาหาร อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ถ้าเกิดในเด็กจะทำให้เด็กไม่อยากรับประทานอาหาร จะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคไปยังอวัยวะอื่นได้ เด็กที่มีฟันผุลุกลามในบริเวณกว้างและมีอัตราการผุที่เร็วอาจต้องสูญเสียฟันตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากนี้แล้วการเกิดฟันผุปริมาณมากในชุดฟันน้ำนมนั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญ ที่จะทำนายการเกิดฟันผุในชุดฟันแท้ในอนาคตได้อีกด้วย
จากผลการดำเนินงานงานทันตกรรมเด็กอายุ 0 – 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา พบว่า ข้อมูลของเด็กในปี 2567 เด็ก 0 – 2 ปี จำนวน 48 คน และเด็กอายุ 3 – 5 ปี จำนวน 42 คน จากรายงานเด็กอายุครบ 3 ปีที่มารับบริการที่คลินิกทันตกรรม จำนวน 8 คน มีฟันผุ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ซึ่งเกิดจากการที่เด็กชอบรับประทานอาหารหวาน และพ่อแม่ไม่มีเวลาในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเนื่องจากทำงาน ทาง รพ.สต. จึงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ 4 เดือนของทารกโดยการใช้ถุงนิ้วมือทำความสะอาดเหงือก เด็กที่เกิดใหม่จะมีสุขภาพกายและฟันที่แข็งแรง เด็กได้รับการดูแลที่ดีและสร้างเจตคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับทันตสุขภาพ นอกจาก พ่อแม่ที่ได้รับการฝึกฝนการแปรงฟันที่ถูกต้องจะส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีทั้งพ่อแม่และลูก
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้อง มีทักษะการแปรงฟันให้ลูกที่สะอาด และถูกวิธี และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของลูกให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีทักษะการแปรงฟันให้ลูกที่สะอาด และถูกวิธี

ร้อยละ 100 ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีทักษะการแปรงฟันให้ลูกที่สะอาด และถูกวิธี

0.00
2 เพื่อให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้เรื่องทันตสุภาพมากขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 71
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุภาพแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
1. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุภาพแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 75 บาท จำนวน 71 คน                 เป็นเงิน      5,325   บาท
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท จำนวน 71 คน     เป็นเงิน      4,970   บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 400 บาท               เป็นเงิน      2,000   บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ไปดูแลสุขภาพช่องปากของลูกได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12295.00

กิจกรรมที่ 2 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม

ชื่อกิจกรรม
2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลจัดทำโครงการ 1 อัน 1.2 x 2.5 เมตร                                    เป็นเงิน         940   บาท
  • เอกสารคู่มือการดูแลสุขภาพช่องปาก จำนวน 71 เล่ม เล่มละ 25 บาท         เป็นเงิน       1,775   บาท
  • ชุดสาธิตในการดูแลสุขภาพช่องปาก (แปรงสีฟัน ยาสีฟัน)    71 ชุด ชุดละ 20 บาท    เป็นเงิน       1,420  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อุปกรณ์เพียงพอต่อการจัดกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4135.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,430.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กปฐมวัยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ
2. ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีทักษะการแปรงฟันให้ลูกที่สะอาด และถูกวิธี
3. ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้เรื่องทันตสุขภาพมากขึ้น


>