โครงการทุ่งคมบางปลอดภัย ผู้บริโภคเข้าใจเฝ้าระวังภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการทุ่งคมบางปลอดภัย ผู้บริโภคเข้าใจเฝ้าระวังภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5230-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีทอง |
วันที่อนุมัติ | 29 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 30,872.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปวีณา ติงหวัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คือการคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย วัตถุเสพติด ปัจจุบันนี้ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของผู้บริโภค อาทิ ปัญหาการจำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดปลอดภัยอาหารสด
ที่มีการปนเปื้อนจากสารเคมี การจำหน่ายยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาชุด ยาอื่นที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านของผู้ประกอบการในร้านชำ การปนเปื้อนของสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ การปนเปื้อนสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เป็นต้น
จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในอำเภอรัตภูมิที่ผ่านมา พบปัญหาความไม่ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ได้แก่ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในร้านชำ เช่น การจำหน่ายยาอันตรายยาปฏิชีวนะ ยาที่ไม่มีเครื่องหมาย “ยาสามัญประจำบ้าน” เป็นผลให้ประชาชนเสี่ยงต่อการแพ้ยา ดื้อยา การได้รับยาที่ไม่สมเหตุสมผล ผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีเครื่องหมาย อย.ผลิตภัณฑ์อาหารหมดอายุ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสงสัยมีสารห้ามใช้ โฆษณาเกินจริง ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายไม่มีเครื่องหมาย อย. พบปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพโอ้อวดสรรคุณเกินจริงในชุมชนและสื่อออนไลน์ การขายอาหารเสริมโอ้อวดสรรพคุณในกลุ่มผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยและผู้บริโภคที่ไม่รู้เท่าทันภัย หลงเชื่อเป็นผลให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ พบปัญหาการปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ
การปนเปื้อนสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง
การดำเนินงาน อย.น้อยในโรงเรียน พบปัญหาการเก็บรักษานมโรงเรียนไม่เหมาะสม พบรายการยาอันตรายในห้องพยาบาลในโรงเรียน การปนเปื้อนสารเคมีอันตรายในผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อในโรงเรียนหมดอายุ
งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีทอง จึงได้จัดทำโครงการโครงการทุ่งคมบางปลอดภัย ผู้บริโภคเข้าใจเฝ้าระวังภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ ปี 2568 ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัย และเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายนักเรียน แกนนำ อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัย ซึ่งจะช่วยในการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัย กลุ่มเป้าหมายในชุมชนผ่านการประเมินความรู้ด้วยแบบทดสอบและประเมินภาคปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยคะแนนแบบทดสอบหลังอบรมเพิ่มขึ้น |
0.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายครู/นักเรียน แกนนำ อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัย กลุ่มเป้าหมายนักเรียน แกนนำ อย.น้อย ผ่านการประเมินความรู้ด้วยแบบทดสอบและประเมินภาคปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยคะแนนแบบทดสอบหลังอบรมเพิ่มขึ้น |
0.00 | |
3 | เพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชนและในโรงเรียน กลุ่มเป้าหมายสามารถเฝ้าระวังและแจ้งเตือนผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชนและในโรงเรียน ร้อยละ 60 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 30,872.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | เตรีมการดำเนินงาน 1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 1.2 เตรียมเอกสารความรู้ ประสานวิทยากร จัดทำแบบประเมินความรู้ก่อน - หลัง 1.3 จัดทำสื่อความรู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น เครื่องสำอาง ยาอันตราย ยาสามัญประจำบ้านเป็นต้น 1.4 ประสานกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วม | 0 | 1,480.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพและการจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำ 4.1 ลงพื้นที่สำรวจร้านชำในพื้นที่ ม.9 บ้านทุ่งคมบาง เกี่ยวกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและการจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำ 4.2 ติดตามร้านชำที่มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและการจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำ | 0 | 0.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | สรุปผลการดำเนินโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ในชุมชน เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชน 2.1 ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 2.2 ทำแบบทดสอบก่อน-หลังการอบรม 2.3 อบรมให้ความรู้ในชุมชน เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัย มี การทดสอบ สเตียรอยด์ในยาแผนโบราณและการทดสอบสารห้ามใช้ในเครื่องสำอ | 0 | 22,342.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้นักเรียน/ครู เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในโรงเรียน 3.1 ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 3.2 ทำแบบทดสอบก่อน-หลังการอบรม 3.3 อบรมให้ความรู้ในโรงเรียน เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในโรงเรียน มี การทดสอบสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณและการทดสอบสา | 0 | 7,050.00 | - |
1 ผู้บริโภคในชุมชนเกิดความรอบรู้สุขภาพ ด้านคุ้มครองผู้บริโภคฯ รู้เท่าทันผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยในชุมชน สามารถนำความรู้และทักษะไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2 นักเรียนในโรงเรียนเกิดความรอบรู้สุขภาพ ด้านคุ้มครองผู้บริโภคฯ รู้เท่าทันผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยในโรงเรียน สามารถนำความรู้และทักษะไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3 เกิดการเฝ้าระวังภัยร้านชำปลอดผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงชุมชนปลอดร้านชำที่ขายยาอันตรายในชุมชน ชุมชนเกิดการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยผู้บริโภคในชุมชนมีความเข้มแข็งในการใช้ทักษะและความรู้ที่ได้รับ นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2568 00:00 น.