กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 68-L4165-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมภาพตำบลบ้านเก๊ะรอ
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 25,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนุรไอนี มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ    เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ สถานการณ์โรคไม่ติดต่อในตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา  ในปีงบ 2564 พบว่ามีผู้ป่วยความดันไม่สามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตสูงร้อยละ 74.21 และผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลร้อยละ 77.93 ในปีงบ 2565 พบว่ามีผู้ป่วยความดันไม่สามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตสูงร้อยละ 72.30 และผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลร้อยละ 66.53 ซึ่งพบว่ายังไม่สามารถควบคุมได้ดี ในปีงบ 2566 พบว่ามีผู้ป่วยความดันไม่สามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตสูงร้อยละ 58.33 และผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลร้อยละ 71.74 ในปีงบ 2567 พบว่ามีผู้ป่วยความดันไม่สามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตสูงร้อยละ 71.84 และผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลร้อยละ 67.30 ซึ่งพบว่ายังไม่สามารถควบคุมได้ดี ในจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พบว่ามีภาวะแทรกซ้อน ดังนี้ 1)โรคไตเสื่อม 2) โรคจอประสาทตา 3) โรคหัวใจหลอดเลือด 4)โรคอัมพฤกษ์  (เส้นเลือดสมองตีบ)  เป็นต้น
ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม    ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง      ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก 3อ2ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดภาวะแทรกซ้อน ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  1. กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ          ลดภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 100 2.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วย ได้รับการเจาะเลือดประจำปี
2 เพื่อผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

3 อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนลดลง

 

4 อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนลดลง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง(1 พ.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 25,950.00          
รวม 25,950.00
1 โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 25,950.00 0 0.00
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้คัดกรองเรื่องโรคเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูลง 150 25,950.00 -

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 2 สำรวจจำนวนกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดัน กิจกรรมที่ 3 3.1 การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะแทรกซ้อน 3.2 อบรมให้ความรู้ เรื่องโรคเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหัวใจ             - รุ่นที่ 1 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดัน หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3    จำนวน 75 คน - รุ่นที่ 2 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดัน หมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 7 จำนวน 75 คน     กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 6 ติดตามและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ          ลดภาวะแทรกซ้อนได้
2.ผู้ป่วย โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการเจาะเลือดประจำปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2568 13:18 น.