โครงการ ผู้สูงอายุ เกะรอสุขภาพดี โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ชื่อโครงการ | โครงการ ผู้สูงอายุ เกะรอสุขภาพดี โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม |
รหัสโครงการ | 68-L4156-03-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลเกะรอ |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 19,950.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวซือน๊ะ ยูดาหะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวสุภิญญา มะหลี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.535,101.576place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 140 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ครอบครัว เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กและสำคัญที่สุด ทำหน้าที่หล่อหลอมและขัดเกลาความเป็นมนุษย์ให้แก่สมาชิกของครอบครัว ด้วยการอบรมเลี้ยงดู ให้ความรัก ความเอื้ออาทร ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมให้แก่สมาชิกในครอบครัว เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความพร้อมที่จะทำงานอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ สังคมจะเข้มแข็ง หรืออ่อนแอล้วนขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของครอบครัว หากครอบครัวอ่อนแอ สังคมย่อมเคลื่อนไปได้อย่างลำบาก หากครอบครัวที่มีความเข้มแข็งย่อมส่งผลต่อพลังสร้างสรรค์เรื่องราวดี ๆ ของสมาชิกในครอบครัว เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป โดยในปัจจุบันครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลงจากลักษณะครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครอบครัวขยายที่มีปู่ย่าตายายและเครือญาติอื่น ๆ อยู่ภายในครอบครัวลดลง ในขณะเดียวกันครอบครัวเดี่ยวที่มีพ่อ แม่ และลูก เพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงลักษณะของครอบครัวดังกล่าว ส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ตามลำพังคนเดียวหรืออยู่ตามลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้นทำให้ผู้สูงอายุดังกล่าวไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ ควร โดยเฉพาะผู้สูงอายุในชนบทจำนวนมากที่ถูกทอดทิ้งให้รับภาระเลี้ยงดูหลานเนื่องจากพ่อแม่ไปประกอบอาชีพต่างถิ่นทำให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในวัยควรจะได้พักผ่อน ต้องรับผิดชอบดูแลเด็กที่ยังช่วยตนเองไม่ได้ ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุเองก็ต้องได้รับการดูแลเช่นเดียวกัน ครอบครัวจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการมากที่สุด โดยที่ครอบครัวไม่ควรปล่อยให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ตามลำพัง หรืออยู่ตามลำพังกับคู่สมรส แต่ควรดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด และเป็นครอบครัวเดียวกัน การเข้าค่ายครอบครัวเป็นกระบวนการเริ่มต้นสู่การเสริมสร้างพลังรักของครอบครัวการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ที่สร้างโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้พูดคุยรับฟังความคิดของกันและกันได้ทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันและได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของครอบครัว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ใช้ความรุนแรงในครอบครัว และการมีจิตสานึกที่ดีในการเป็นสมาชิกในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ “ผู้สูงอายุ เกะรอสุขภาพดี โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม”ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว มีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้สูงอายุรู้วิธีป้องกันโรคและอาการของโรคที่มักเกิดกับผู้สูงอายุรู้บทบาทหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวที่มีต่อการดูแลผู้สูงอายุรู้วิธีเฝ้าระวังและจัดพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุสมาชิกในครอบครัวมีการสื่อสารที่เหมาะสมระหว่างคนต่างวัยพร้อมทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง ๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นำไปสู่การมีสุขภาพดี ๑. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุมีความรู้และได้รับการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องและเหมาะสม ๒. ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีขึ้น |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผู้สูงอายุ เกะรอสุขภาพดี โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(1 พ.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 19,950.00 | |||||
รวม | 19,950.00 |
1 ผู้สูงอายุ เกะรอสุขภาพดี โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 140 | 19,950.00 | 0 | 0.00 | 19,950.00 | |
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ | 140 | 19,950.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 140 | 19,950.00 | 0 | 0.00 | 19,950.00 |
- เสวนาเรื่องการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
- การสาธิตการทำอาหารและวิธีการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
- ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีจิตใจแจ่มใส ลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- เกิดความรักความเข้าใจมากขึ้นในครอบครัว ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดี ได้รับการเอาใจใส่
- ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
- มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านครอบครัว คนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น
- เกิดความรัก ความสามัคคี มีการเอื้ออาทรในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2568 13:56 น.